วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด

ประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดร้อยเอ็ด
บุญบั้งไฟ เป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสาน นิยมทำกันในเดือน 6 หรือเดือน 7 อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่าน ไถ เพื่อเป็นการบูชาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล เหมือนกับการแห่นางแมวของคนภาคกลาง
ในสองพิธีกรรมที่อยู่คนละภาคนี้ มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของสัญลักษณ์ที่ใช้อันส่อไปทางเพศสัมพันธ์ เช่น การใช้ไม้มาแกะสลักเป็นอวัยวะเพศชายเรียกว่า "บักแบ้น" หรือ "ปลัดขิก" ในอีสานหรือ "ขุนเพ็ด" ในภาคกลางเข้าร่วมขบวนแห่ ทั้งยังมีการร้องเซิ้งด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับอวัยวะเพศและเพศสัมพันธ์
สัญลักษณ์นี้เป็นเครื่องหมายของความสัมพันธ์ระหว่าง ฟ้ากับดิน หญิงกับชาย ที่เป็นพลังก่อกำเนิดชีวิต และเป็นพลังแห่งความอุดมสมบูรณ์ จึงมีความสัมพันธ์กับการขอฝน ซึ่งเป็นที่มาของพลังแห่งการเติบโตของพืช และด้วยเหตุที่อวัยวะเพศ และเพศสัมพันธ์เป็นสัญลักษณ์สำคัญของงานบุญ จึงถือว่างานบุญบั้งไฟเป็น งานบุญของพระยามาร ซึ่งจัดแข่งกับงานบุญของพระพุทธเจ้า
บุญบั้งไฟมีตำนานเล่าขานมานาน จากนิทานพื้นบ้านเรื่องผาแดงนางไอ่ เรื่องพระยาคันคาก ล้วนแต่กล่าวถึงการจุดบั้งไฟเพื่อให้แถน (เทวดา) ได้บันดาลให้ฝนตกตามฤดูกาล ถือเป็นประเพณีอันสำคัญที่จะละเลยมิได้ เพราะมีความเชื่อว่า หากหมู่บ้านใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟก็อาจจะก่อให้เกิดภัยภิบัติแก่ผู้คนในชุมชน งานบุญบั้งไฟเป็นงานใหญ่ ลงทุนสูง การจัดงานจะต้องเป็นไปตามการตัดสินใจของชุมชน หากปีใดเศรษฐกิจในชุมชนฝืดเคืองอาจจะต้องงดจัดงาน ซึ่งต้องไปทำพิธีขอเลื่อนการจัดที่ศาลปู่ตา (ศาลผีบรรพบุรุษหรือเทพารักษ์) ของหมู่บ้าน ความจริงแม้จะจัดหรือไม่ก็ต้องมีการไปกระทำพิธีเซ่นไหว้ที่ศาลปู่ตาอยู่ดี
ขั้นตอนการจัดการประเพณีบุญบั้งไฟ
  • ประชุมชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ พระสงฆ์ในหมู่บ้านเพื่อขอความเห็นว่าจะจัดงานบุญบั้งไฟหรือไม่ ถ้าตกลงจัดก็จะทำในข้อถัดไป แต่ถ้าไม่จัดจะต้องส่งตัวแทน (ผู้มีอายุชายในหมู่บ้าน) และพ่อเฒ่าจ้ำ (หมอผีประจำหมู่บ้าน) ไปขอขมาต่อเจ้าปู่เพื่อขอเลื่อนไปจัดในปีถัดไป (พิธีกรรมนี้ไม่มีผู้หญิงเกี่ยวข้อง)
  • เมื่อตกลงจัดผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้านจะส่งข่าวบอกกล่าวเชื้อเชิญไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงให้มาร่วมงานบุญ เรียกว่า "เตินป่าว" ในสมัยถัดมาบ้านเมืองเจริญขึ้นก็พัฒนามาเป็นการแจกหนังสือเชิญชวนเรียกว่า "สลากใส่บุญ" เหตุที่ถือว่างานนี้เป็นงานบุญก็เพราะว่า วัดเป็นที่รวมของการจัดกิจกรรมของชุมชน การเตรียมการต่างๆ ตั้งแต่การทำบั้งไฟก็มักจะเริ่มจากพระ ซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นฉบับ (ต้นฉบับ) ในวาระโอกาสนี้ยังมีการแทรกประเพณีทางพุทธศานาเข้าไปด้วย เช่น การบวชและการฮดสงฆ์ อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง กองฮด พิธีการในการยกย่องพระสงฆ์
  • ชาวบ้านจะเรี่ยไรเงินและสิ่งของตามศรัทธาเพื่อร่วมสมทบกันสร้างบั้งไฟ (ในสมัยโบราณจะทำเพียงบั้งเดียว) บอกบุญให้บ้านเรือน 3-4 หลังคารวมกันต้อนรับแขกจากต่างบ้านที่มาร่วมบ้านหนึ่ง (ซึ่งจำนวนไม่มากนักจะมาพร้อมบั้งไฟของหมู่บ้าน เช่น พระภิกษุ สามเณร หญิงชายที่มาร่วมขบวนแห่) ส่วนใหญ่ก็มักจะกำหนดให้ครอบครัวที่บวชลูกหลานเป็นเจ้าภาพ (เพราะต้องจัดงานเลี้ยงญาติพี่น้องอยู่แล้ว)
  • ชาวบ้านที่ได้รับมอบหมายจะสร้างปะรำ หรือ "ผาม" หรือ "ตูบบุญ ซึ่งทำด้วยโครงไม้จริง ยกพื้นข้างบนให้พระสงฆ์นั่งฉันภัตาหาร ส่วนข้างล่างปูด้วยใบไม้หรือฟางข้าวให้หญิงสาวนั่ง โดยมีหญิงสูงอายุควบคุมดูแลหญิงสาวเหล่านี้ เพื่อป้องกันมิให้ถูกชายในขบวนเซิ้งลวนลามจนเกินเหตุ
  • ในวัดจะมีการทำบั้งไฟโดย "ฉบับ" ซึ่งมักจะเป็นพระ โดยมีลูกมือคือชาวบ้านผู้ชาย ในสมัยผมยังเป็นเด็ก 20 กว่าปีผ่านมาแล้ว ผมก็เป็นลูกมือพระด้วยการไปหาไม้สำหรับมาเผาเป็นถ่านสำหรับคั่วผสมกับดินประสิวเรียกว่า การทำหมื่อ ซึ่งมีสูตรจำเพาะของช่างแต่ละคน ตำด้วยครกมองให้ละเอียดร่วน ทดสอบด้วยการนำมาโรยเป็นทางยาวแล้วจุดไฟดูความเร็วของการปะทุ หากปะทุช้าก็จะต้องใช้สูตรผสมใหม่ตามแต่ต้นฉบับจะกำหนดบอกมา
การทำบั้งไฟในสมัยก่อนจะใช้ไม้ไผ่ลำขนาดใหญ่ที่สุด ทะลวงปล้องให้ถึงกัน ภายนอกจะใช้ตอกไม้ไผ่ถักเป็นเชือกมัดรอบลำไผ่ให้แน่นเพื่อไม่ให้ลำไผ่แตก ส่วนหัวปล้องสุดท้ายจะถูกอุดด้วยแผ่นไม้หนาพอควร แล้วทำการอัดบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ให้แน่นด้วยการตำ หรือใช้คานดีดคานงัด (สมัยใหม่ใช้แม่แรงยกล้อรถบรรทุกแทนสะดวกกว่ากันดังภาพซ้ายมือ)
ยุคสมัยเปลี่ยนไปจากลำไผ่กลายมาเป็นท่อเหล็กหรือท่อประปา (ซึ่งอันตรายมากเมื่อมีการระเบิดใส่ผู้คนอย่างที่เป็นข่าว) ตอนหลังหันมาใช้ท่อพีวีซีแทนซึ่งก็ยังเป็นอันตรายอยู่ดี จากการบูชาแถนมาเป็นการพนันขันต่อเพื่อการเดิมพัน จำนวนบั้งไฟที่จุดในแต่ละที่จึงมีจำนวนมาก และสร้างความเสียหายต่อชุมชนในทิศที่บั้งไฟถูกจุดออกไป (เพราะสามารถไปไกลได้หลายสิบกิโลเมตร)
นอกจากบั้งไฟแล้ว ยังมีการทำพลุ พะเนียง ดอกไม้ไฟ ตะไล (เพื่อจุดในการแห่ร่วมด้วย) นอกจากนั้นตัวบั้งไฟยังต้องมีการประดับตกแต่งอย่างสวยงามเรียกว่า การเอ้ ซึ่งก็เป็นฝีมือของพระอีกเช่นกัน



พัฒนาการของเด็ก

ความหมายของพัฒนาการ
                ในภาษาอังกฤษมีคำที่หมายถึงการพัฒนาการอยู่ 2 คำคือ “growth”  กับ  “development” คำสองคำนี้ใช้คละปะปนกันไป  ในภาษาไทยก็ใช้ปนๆกันว่าความเจริญงอกงามบ้าง  พัฒนาการบ้าง บางคนก็ใช้ว่า  การเจริญงอกงามและการพัฒนาการที่จริงแล้วความหมายของคำภาษาอังกฤษ  2  คำนั้น  น่าจะมีความหมายต่างกันอยู่บ้าง
                คำว่า “growth”  น่าจะแปลว่างอกงามหรือเติบโตซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ  เช่นเปลี่ยนแปลงทางด้านขนาดและรูปร่างคือโตขึ้น  สูงขึ้น  ใหญ่ขึ้น  ยาวออก  มากขึ้น  และยังหมายรวมถึงการเพิ่มขนาดและรูปร่างของอวัยวะภายในและขนาดของสมอง ฯลฯ  ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงปริมาณและสัดส่วนของความสามรถทางสมองเช่น  จำได้มากขึ้น  เรียนรู้ได้มากขึ้น  ความคิดหาเหตุผลมีมากขึ้น  ดังนั้นการเจริญเติบโตจึงเกิดขึ้นได้ทั้งทางร่างกายและทางสมอง
                ส่วนคำว่า “development”  นั้นหมายถึงความเปลี่ยนแปลงทางด้านที่เกี่ยวกับ  คุณภาพเป็นใหญ่ และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นกระบวนการต่อเนื่องสืบสายกันไปเป็นลำดับเพื่อบรรลุจุดเจริญบริบูรณ์ของพัฒนาการที่เรียกว่า  วุฒิภาวะ  ซึ่งหมายความว่าก่อนที่การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและทางสมองจะบรรลุขีดสูงสุด จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนปลีกย่อยมากมายติดต่อกันมาไม่ขาดตอน  และแต่ละขั้นตอนต้องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในลักษณะที่การเปลี่ยนแปลงขั้นต้นเป็นฐานรองรับการเปลี่ยนแปลงขั้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ตรงกับภาษาไทยว่า การเจริญขึ้นหรือการเติบโต  ซึ่งหมายถึงการเพิ่มขึ้นทางด้านคุณภาพโดยตรง โดยส่วนมากจะใช้คำว่า “development” คำเดียวว่าหมายถึงพัฒนาการ
                อย่างไรก็ตาม  การงอกงามหรือเติบโตทางด้านปริมาณกับความเจริญเติบโต  หรือพัฒนาการซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงคุณภาพให้ดีขึ้นนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยซึ่งกันและกัน  ไม่อาจแยกจากกันโดยเด็ดขาดได้  หากไม่มีอย่างหนึ่งอีกอย่างหนึ่งก็จะเกิดขึ้นมิได้เลย
               
                การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์อาจจำแนกออกได้ เป็น 4 กรณีคือ
                   1 การเปลี่ยนแปลงทางขนาด
                   2 การเปลี่ยนแปลงทางด้านสัดส่วน
                   3 ลักษณะเดิมหายไป
                   4 มีลักษณะใหม่ๆเกิดขึ้น


หลักของพัฒนาการ (Principle of development)
1 พัฒนาการและเป็นไปตามแบบฉบับของมันเอง
2 พัฒนาการไม่ว่าด้านใดจะเริ่มจากส่วนใหญ่ไปสู่ส่วนน้อย
3 พัฒนาการเป็นสิ่งที่ดำเนินต่อเนื่องกันไปตลอดเวลาจนมีลำดับขั้นตอน
4 อัตราการพัฒนาการในแต่ละส่วนของร่างกายนั้นจะแตกต่างกัน
5 อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน
6 พัฒนาการของคุณสมบัติต่างๆจะสัมพันธ์กัน
7 พัฒนาการเป็นสิ่งที่เราอาจทำนายหรือคาดคะเนได้
8 พัฒนาการทุกด้านเกี่ยวข้องกันแยกกันไม่ได้
9 พัฒนาการดำเนินควบคู่ไปกับการเสื่อม (Growth and Decline)
10 ความสมดุลพฤติกรรมต้องการเวลา
                จากหลักของพัฒนาการสามรถสรุปได้ว่า  พัฒนาการคือการเจริญเติบโตที่ให้คุณลักษณะใหม่หรือความสามรถใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปอย่างมีทิศทางและดำเนินไปตามเวลา สืบเนื่องกันไปตลอดเวลา  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการของมนุษย์ดำเนินการไปโดยอาศัยกระบวนการเปลี่ยนแปลง 2 ชนิดด้วยกันคือ การวิวัฒนาการ (Evolution)  ซึ่งหมายถึงการสร้างลักษณะใหม่ กับอีกอย่างหนึ่งเรียกว่าการเสื่อมสลายหรือปลาสนาการ (Involution) ซึ่งหมายถึงการที่ลักษณะที่มีอยู่เดิมเสื่อมสลายหรือหายไป
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ
                พัฒนาการของมนุษย์ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้คือ
                วุฒิภาวะ(Maturation)
                วุฒิภาวะหมายถึง  การบรรลุถึงขั้นการเจริญเติบโตเต็มที่ในระยะใดระยะหนึ่งและพร้อมที่จะประกอบกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้พอเหมาะกับวัย เข่น  จะเดินและพูดได้เมื่อร่างกายมีความพร้อม
                วุฒิภาวะของมนุษย์จะเจริญเติบโตเป็นขั้นๆตามลำดับวัยของธรรมชาติ  และมีกำหนดเวลาเป็นของตนเอง  ตัวอย่างเช่น  อวัยวะในการเปล่งเสียงของเด็กจะต้องเจริญเติบโตก่อนเด็กจึงจะพูดได้เป็นต้น
                การเรียนรู้ (Leaning)
                การเรียนรู้หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมต้องมีการเรียน  การสอน มีแบบแผนและประสบการณ์  การเรียนรู้จะสมบูรณ์หรือไม่เพียงใดมีผลมาจากการฝึกหักอบรมตลอดจนจะต้องมีความมุ่งหมายในการเรียนสิ่งนั้นๆด้วย
                วุฒิภาวะมีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้  และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์มาก  อาจกล่าวได้ว่า  การเรียนรู้จะไม่เกิดขึ้นถ้าเด็กยังไม่พัฒนาถึงวุฒิภาวะนั้น
นักจิตวิทยาได้แบ่งช่วงวัยเด็กออกเป็น  3  ตอน คือ
                1.วัยเด็กตอนต้น (Early child hood)
                2.วัยเด็กตอนกลาง (middle child hood)
                3 วัยเด็กตอนที่ปลาย (Late child hood)
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะหัวข้อวัยเด็กตอนปลายเท่านั้น
วัยเด็กตอนปลาย (Late child hood) หรือวัยก่อนรุ่น
                วัยเด็กตอนปลายอายุระหว่าง  10-13 ปี  หรือระหว่าง  10-12 ปี  วัยนี้คาบเกี่ยวกับวัยแรกรุ่นหรือวัยรุ่นตอนต้นเพราะบางคนอาจจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นลักษณะของวัยแรกรุ่น (Puberty)   ตั้งแต่อายุ 11 ปี ในเด็กหญิง และ 12 ปีในเด็กชายระยะวัยเด็กตอนปลายเป็นระยะที่มีการพัฒนาทางสังคมเป็นลักษณะเด่นกล่าวคือ เป็นช่วงเปลี่ยน (Transition period) จากสังคมแบบในบ้านไปสู่สังคมนอกบ้าน ศูนย์กลางของชีวิตทางสังคมคือ โรงเรียน บิดามารดาเริ่มกลายเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อเด็กน้อยลง กลุ่มเพื่อนร่วมวัยเริ่มมีบทบาทต่อชีวิตของเด็กมากขึ้น กลุ่มเด็กในวันนี้จะมีอัตราความเจริญเติบโตแตกต่างกัน  เด็กที่มีกระบวนความเติบโตเร็ว  จะเข้าสู่วัยรุ่น  แตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาวเร็ว เด็กหญิงจะจะเติบโตเร็วกว่าเด็กชายประมาณ 1-2 ปี เด็กแต่ละคนเข้าสู่วัยแตกเนื้อหนุ่มสาวไม้พร้อมกัน บางคนจะย่างเข้าวัยรุ่นเมืออายุ 11 ปี บางคน 9ปี บางคน 12 ปี ทั้งนี้สุดแล้วแต่กระสวนความเจริญเติบโตของแต่ละบุคคลเมื่อเข้าสู่วัยแตกเนื้อหนุ่มสาวแล้ว  ความเจริญเติบโตจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกร่างกาย  ทำให้เกิดปัญหาทางอารมณ์และทางสังคมขึ้น วัยนี้ทั้งสองเพศเริ่มแยกกันทำกิจกรรม ความสนใจแตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าวัยเด็กตอนปลายเป็นวัยที่มีการเตรียมตัวหลายๆด้านเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต เพื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น เช่น ด้านสังคม การเข้ากลุ่ม การควบคุมอารมณ์ การเข้าใจตนเอง เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น และมีความเจริญเติบโตมากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับมาในช่วงนี้และเช่นเดียวกันกับประสบการณ์ วัยเด็กตอนต้นเป็นรากฐานของพัฒนาการในระยะวัยเด็กตอนปลาย
                 พัฒนาการทางกาย 
                ด็กอายุ 9ปี ส่วนมากมีกระสวนความเจริญเติบโตช้าและสม่ำเสมอยู่ประมาณ 1 ปี หรือมากกว่านี้ จากอายุ 10 ปีเป็นต้นไปเด็กบางคนจะย่างเข้าสู่วัยแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว คือเริ่มเติบโตอย่างรวดเร็ว  แต่บางคนก็ยังคิดและสนใจอย่างเด็กอยู่ไม่ควรเปรียบเทียบความเติบโตเด็กทั้งสองเพศ  โดยพิจารณาจากอายุที่เท่ากันแต่ร้องดูระดับวุฒิภาวะของแต่ละคน  เด็กที่ยังไม่แตกเนื้อหนุ่มสาว  จะยังคงมีรูปร่างเหมือนเดิมเพียงโตขึ้นเล็กน้อยความสามารถที่ได้มาแต่กำเนิด และทักษะเฉพาะอย่างกำลังจะปรากฏ  สำหรับเด็กที่กำลังจะเป็นวัยรุ่นนั้น จะมีความเปลี่ยนแปลงทางการความเติบโต เจตคติและพฤติกรรมด้วย ก่อนจะถึงระยะเติบโตเข้าสู่การแตกเนื้อหนุ่มสาวจะมีระยะพัก(resting period)อยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งระยะที่ดูเหมือนว่าเด็กจะไม่เติบโตขึ้นเลย  ทั้งทางส่วนสูงและน้ำหนัก หลังจากระยะนี้ไปแล้วก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
                ในขณะเดียวกันก็มีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆด้วย คือมีแขนยาว มือใหญ่ขึ้น ลักษณะเพศขั้นที่สองของเด็กหญิงจะปรากฏขึ้นเรื่อยๆ(Secondary Sex Characteristic)ได้แก่ สะโพกขยาย หน้าอกขยาย มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ เนื่องจากว่าทุกส่วนเจริญด้วยอัตราที่ไม่เท่ากัน  เด็กหญิงจึงอาจจะมีใจจดจ่อกับทรวงอกของตนที่เจริญมากกว่าคนอื่นๆ  หรือรู้สึกว่าสะโพกใหญ่เกินไป  หรือนึกถึงแต่มือเท้าที่ใหญ่ขึ้น  ผู้ใหญ่มักจะพบเสมอว่าวัยนี้มักงุ่มง่าม เก้งก้างเนื่องจากความเจริญเติบโตของส่วนต่างๆมีไม่เท่ากันนี้เอง  เด็กส่วนมากเริ่มแสดงว่ากำลังแสดงว่ากำลังเข้าสู่ความเจริญเต็มที่เมื่อตอนอายุ ประมาณ  11 ปี และมีระดูเมื่อตอนอายุ 13 ปี  อย่างไรก็ดีการเติบโตนี้ก็ไม่แน่นอน  เด็กหญิงอาจเริ่มมีระดูระหว่างอายุ 12 -16 ปีก็ได้  และเด็กชายจะเข้าสู่วุฒิภาวะทางเพศเมื่อตอนอายุ  12-16 ปีก็ได้   ที่เป็นไปเร็วหรือช้ากว่านี้มีน้อยมาก
                ได้กล่าวแล้วว่า  เด็กชายเจริญเติบโตช้ากว่าเด็กหญิง 1-2 ปี เด็กชายที่ก้าวเข้าสู่วุฒิภาวะทางกายเมื่ออายุ 12 ปี นั้นจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเมื่ออายุ 13 ปี  การเข้าสู่ระยะเร่งของการแตกเนื้อหนุ่มคงจะอยู่ระหว่างอายุ 14-15 ปี  บางคนอาจเร็วหรือช้ากว่านี้เด็กชายอายุ 14 ปี  ส่วนใหญ่มีขนาดรูปร่างขยายขึ้นเห็นได้ชัดเป็นวัยที่ความเจริญเติบโตทางส่วนสูงเป็นปอย่างเร็วที่สุด  เด็กจะกังวลอยู่กับความสูงของตัวเองมากขึ้น  ลักษณะเพศขั้นที่สอง  เจริญขึ้นเรื่อยๆ  คือกล้ามเนื้อมากขึ้น  ไหล่กว้างขึ้นทำให้ความเป็นเพศชายดูแกร่งขึ้น  มีขนตามแขนและหน้าแข้ง  เสียงห้าวขึ้นเสียงเปลี่ยนภายหลังที่มีขนที่อวัยวะเพศแล้ว  คือระหว่าอายุเฉลี่ย 13.4 ปี(เด็กอเมริกัน)  และจะแตกห้าวเมื่ออายุ 16-18 ปี  หลังจากนั้นไปอีกราว 1-2 ปี  เด็กก็จะบังคับเสียงได้  เมื่อเข้าวัยรุ่นตอนปลาย  การเปลี่ยนแปลงของเสียงสิ้นสุดลง  เด็กจะมีเสียงนุ่มนวลขึ้นการเปลี่ยนแปลงที่จะทีนทีทันใด  ทำให้เด็กเข้าใจผิดคิดว่าเป็นหวัดก็ได้เสียงที่เปลี่ยนไปอาจทำให้เด็กตกใจกลัวและพะวงถึงแต่วุฒิภาวะทางเพศของตนจนไม่เป็นอันกินอันนอน  เด็กอายุ 14 ปีเต็มส่วนมากมีอสุจิเคลื่อนทำให้บำบัดวามใคร่ด้วยตนเอง(Masturbation) น้ำอสุจิเคลื่อนในเวลาหลับอาจเกิดขึ้นก่อนอายุ 14 ปี หรือวัยรุ่นตอนปลายก็ได้ การที่ร่างกายผลิตน้ำอสุจิออกมา เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถสืบพันธุ์ได้แล้ว
                เด็กวัยนี้คงมีฟัน เขี้ยว และกรามขึ้นเรื่อยๆ  และมักพบว่ามีฟันผุมากที่สุดโดยทั่วไป  พัฒนาการทางส่วนสูงและน้ำหนักของเด็กวัยนี้เจริญขึ้นตามลำดับขั้น  ต่อไปนี้
                1.ตั้งแต่อายุ 9 ปี ความเจริญเติบโตจากวัยที่ผ่านมาจะเป็นไปอย่างช้าอยู่ราวปีหนึ่งหรือกว่านั้น
                2.อัตราการเจริญเติบโตของเด็กหญิงเร็วกว่าของเด็กชาย 1-2 ปี ระหว่างคาบการเจริญ เติบโตเป็นไปอย่างรวดเร็วเด็กที่มีร่างกายสูงกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน ก็ดูเหมือนจะเติบโตเร็วขึ้น
                3.เมื่ออัตราการเจริญเติบโตขึ้นสูงสุดแล้วจึงจะเริ่มช้าลงกินเวลาถึง 2 ปี
                4.ต่อจากนี้ไปอัตราการเจริญเติบโตจะเข้าสู่แนวเดิมที่เห็นได้ชัดเจนก่อนจะถึงวัยแตกเนื้อหนุ่มสาว

อิทธิของวุฒิภาวะทางกายภาพ  เพศ  และความสามารถทางสมอง
                ลำดับความเจริญเติบโตจะเร็วหรือช้าเพียงใดขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะทางเพศและทางสรีระเด็กที่มีวุฒิภาวะเร็วจะเข้าสู่ระยะก่อนรุ่นเร็วกว่าและมีความโน้มเอียงที่จะสูงขึ้น  หนักขึ้นกว่าวัยที่ผ่านมา
เมื่ออัตราความเพิ่มของส่วนสูง  และน้ำหนักสูงสุดลักษณะอื่นๆทางสรีระจะแสดงวุฒิภาวะให้เห็นไปอีกหนึ่งปีก็ได้  กระดูกข้อมือของเด็กหญิง อายุ 10-12 ปี จะเจริญเร็วกว่าเด็กชายประมาณ 1 ปี ซึ่งเป็นเครื่องวัดที่ดีที่สุดได้อีกอย่างหนึ่งที่แสดงถึงวุฒิภาวะทางกาย  ดังนั้น ครูก็อาจหวังได้ว่าเด็กหญิงก่อนวัยรุ่นจะสูงกว่าและหนักกว่าเด็กชายวัยเดียวกัน  เด็กชายที่ยังไม่บรรลุภาวะจะรู้สึกว่าตนถูกบีบบังคับมากกว่าซึ่งทำให้เกิดข้อบกพร่องในการพูด อ่าน และปัญหาอื่นๆ ของเด็กชายมีมากขึ้น 
                การขาดสมรรถภาพทางสมอง เกี่ยวพันกับการเจริญเติบทางกายเช่นกันอัตราการเติบโตของเด็กชายที่หย่อนสมรรถภาพทางสมอง  จะช้ากว่าเด็กชายที่เติบโตทางสมองปกติ  และขึ้นอยู่กับความบกพร่องมากหรือน้อยด้วย                                                                                                                                                 ความเจริญเติบของเด็กผิดปกติ  มีช่วงยาวกว่าเด็กปกติและเด็กฉลาด  เด็กประเภทนี้ช้าไม่เฉพาะแต่ส่วนสูงและน้ำหนักเท่านั้น  แต่ช้าในด้านอื่นๆด้วย เช่น การเรียนรู้ที่จะเดิน ฟันขึ้น และช้าในระยะเข้าสู่วัยแตกเนื้อหนุ่มสาวด้วย

ผลของพัฒนาการทางกายที่ผิดไปจากแนวปกติ(Deviation)
                วุฒิภาวะทางกายที่ผิดแนวได้แก่  ร่างกายใหญ่โตเกินไป เล็กเกินไป อัตราความเจริญเติบโตเป็นไปอย่างรวดเร็วหรือช้าเกินไป ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเติบโตไม่ได้ส่วน หรือไม่เหมาะสมถูกต้อง  ลักษณะเหล่านี้มีผลต่อการปรับตัวของเด็กต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆด้วยโดยเฉพาะเด็กหญิงที่สูงมากจะรู้สึกกังวลใจอาจปรับตัวเข้ากับเพศตรงข้ามได้ยาก  เมื่อเข้าวัยรุ่นเด็กชายร่างเล็กจะรู้สึกกังวลเช่นกัน  แต่เขาจะสบายใจขึ้นเมื่อได้รับคำอธิบายว่าเขายังไม่โตไม่เต็มที่  ยังจะสูงได้อีก  โดยดูจากภาพเอ็กซเรย์  กระดูกข้อมือที่ยังไม่โตเต็มที่  อัตราความเติบอย่างรวดเร็ว  จะทำให้เกิดความเครียดอย่างต่อเนื่องกันไปแก่อวัยวะที่สำคัญอื่นๆ ได้และต้องหาทางป้องกันมิให้เด็กชายใช้อวัยวะนั้นๆ มากเกินไป ความเติบโตที่ไม่สม่ำเสมออาจทำให้เด็กเป็นคนงุ่มง่ามและกังวลเกี่ยวกับตนเอง
                ความเติบโตทางกายอย่างพุ่งพรวดซึ่งมักคู่กับความช้าทางสมองนั้นเป็นลักษณะเฉพาะของพัฒนาการทำให้มีอุปสรรค
                ในโรงเรียนบางแห่งจึงจัดกลุ่มเด็กประเภทนี้ไว้กับเด็กที่เล็กกว่า เด็กประเภทนี้มักเฉื่อยชาหรือมีพฤติกรรมขัดแย้งกับสังคมอยู่บ่อยๆ แต่ถ้าได้แรงกระตุ้นก็อาจจะทำอะไรได้สำเร็จเกินกว่าความสามารถจริงที่มี
               
                พัฒนาการทางกำลัง เด็กวัยนี้สามารถใช้กำลังได้มากขึ้นโดยเฉพาะกำลังมือ ใช้กำลังที่ทำกิจกรรมอย่างรวดเร็วเด็กวัยก่อนรุ่น ต้องการพลังงานเป็นสองเท่า สำหรับทั้งกิจกรรมที่ใช้แรงและไม่ใช้แรง
                ความสามารถและทักษะในการใช้อวัยวะเคลื่อนไหว เด็กชายที่เข้าวัยก่อนรุ่นเล็กน้อย(Post Primary Preadolescent) มีกำลังเพิ่มขึ้น กล้ามใหญ่ที่ไหล่แขนและข้อมือจะเจริญเติบโตจนสามารถ
ใช้การได้ดีจนเกือบเท่าของผู้ใหญ่
                สุขภาพ วัย10-12 ปี ถือว่าเป็นวัยที่มีสุขภาพดีที่สุดในชีวิตได้  ทั้งนี้เพราะเด็กมีประสบการณ์การเรียนรู้ขึ้นทั้งในชั้นและนอกชั้นเรียน  ทำให้มีความต้านทานโรคติดต่อได้ความสนใจกีฬาต้องการใช้กำลังว่องไว และกระตุ้นให้เด็กออกกำลังกลางแจ้ง  เด็กที่มีสุขภาพดีจะมีร่างกายแข็งแรงสมส่วน  กระฉับกระเฉงว่องไวอยู่เสมอ  ถ้าเหนื่อยง่ายได้พักก็หายเร็ว  เด็กที่เป็นโรคหัวใจเล่นกีฬาไม่ได้ทำให้เป็นเด็กที่ด้อยความสามารถในทางกีฬาและปรับตัวได้ยาก การเล่นกีฬาทำให้เด็กชายวัยก่อนรุ่นรู้สึกภูมิใจในตนเองและรู้สึกว่าตนเองเป็นชายจริง  เด็กชายที่ไม่เล่นกีฬาจะได้ชื่อว่าเป็นผู้หญิง
                การต่อสู้ระหว่างเด็กชายวัยระหว่าง10-12 ปี ยังคงมีอยู่บ่อยๆ และชอบการเล่นที่ผาดโผนมีทักษะมากขึ้นและรู้จักป้องกันอันตรายร้ายแรงได้ดีขึ้น  แม้กระนั้นจิตใจที่รักการผจญภัยและใจเร็ว  ก็ทำให้เด็กวัยนี้ประสบอุบัติเหตุบ่อยครั้ง  อย่างไรก็ดีการเจ็บไข้และอุบัติเหตุก็มีผลให้เด็กปรับตัวทางสังคมได้ยากด้วย
                2.พัฒนาการทางอารมณ์
                เด็กวัยก่อนรุ่น  ควรได้รับความช่วยเหลือให้สามารถควบคุมปรับปรุงแก้ไขตนเองได้มากขึ้น  เด็กมีความรู้สึกไวเจตคติที่ผู้อื่นมีต่อเขา  จะรู้สึกไม่สบายใจอย่างมากถ้าถูกวิจารณ์ หรือเปรียบเทียบกับเด็กอื่น  เด็กที่ถูกทอดทิ้งทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนจะเป็นผู้ที่ไม่มีความสุขกลายเป็นเด็กเงียบหรือไม่ก็มีพฤติกรรมขัดขืน  และไม่เกรงกลัวใครความเครียดที่เด็กได้รับจากทางบ้านอาจน้อยลงหรือหายไปได้ถ้าเด็กได้รับความสัมพันธ์ที่ดีจากครูและเพื่อน  อารมณ์รุนแรงการลงมือลงเท้าลดลง  รู้จักหาสิ่งที่ต้องการด้วยวิธีที่อ่อนโยนขึ้นกลัวความผิดหวังถูกเยาะเย้ย  หรือถูกว่าผู้หญิง
มากกว่ากลัวร่างกายบาดเจ็บ 
                ความกลัวในวัยเด็กเช่นกลัวสัตว์ก็ลดลง  แต่ที่ยังกลัวปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอยู่ก็มี  เด็กหญิงแสดงความกลัวในเรื่องดังกล่าวมากกว่าเด็กชาย  นอกจากเรื่องการเรียนทางโรงเรียน 
                เด็กวัยนี้กังวลใจเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ของบุคคลในครอบครัวมากที่สุด  นอกจากนี้เด็กยังกลัวคะแนนสอบ  การสอบตก  และเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะตนเองอย่างไรก็ดีบุคลิกภาพของเด็กย่อมปรับปรุงได้  และเด็กสามารถที่จะปรับปรุงตนเองได้ดีด้วย
                ความต้องการ  เนื่องจากเด็กมีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้น   ทำให้มีความต้องการเพิ่มมากกว่าวัยที่ผ่านมาแล้วคือ
                -  ต้องการอาหารที่มีคุณค่า
                -  ต้องการได้เล่นกีฬาที่ช่วยให้พัฒนาทักษะส่วนบุคคล
                -  ต้องการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
                -  ต้องการความช่วยเหลือให้เข้าใจกระสวนความเจริญเติบโตตามธรรมชาติ
                -  ต้องการสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ และหนังสือที่ช่วยให้การคิดในการทำกิจกรรมริเริ่มสร้างสรรค์หรือใช้กำลังเคลื่อนไหว โดยที่ผู้ใหญ่ไม่บังคับ
                -ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ถ้าเป็นผู้ที่มีกระสวนความเจริญเติบโตเร็วหรือช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน
                -ต้องการได้รับรองความสามารถและการได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
                -ต้องการความรัก ความอบอุ่น และความยกย่องชมเชยจากผู้ใหญ่
                ลักษณะของการแสดงออกทางอารมณ์
                ในวันเด็กตอนปลายเด็กยังคงมีการแสดงทางอารมณ์ในลักษณะของความพอใจละอารมณ์ไม่พอใจ อารมณ์ไม่พอใจของเด็กวัยนี้มีการแสดงออกอย่างรุนแรง ผลก็คือการยอมรับในบางครั้ง เด็กจะมีการแสดงออกของอารมณ์ในลักษณะของความไม่พึงพอใจในลักษณะของการหลีกหนีต่อสถานที่น่ากลัว และเด็กจะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้เลย
                การแสดงออกของอารมณ์ทีเด็กมีความพอใจของวัยเด็กตอนปลายคือ เด็กจะมีการหัวเราะของความพอใจ ส่งเสียงดัง หัวเราะบิดตัวไปมา มีการกระตุกหรือนอนกลิ้งบนพื้น
                อารมณ์ต่างๆของเด็กวัยนี้
                   1. ความกลัว
                                วัยเด็กตอนปลายนั้นจะต้องเผชิญกับวัตถุเหตุการณ์ต่างๆ บุคคลต่างๆ มากมายอันมีผลทำให้เกิดความกลัว ความกลัวนี้อาจจะเป็นความกลัวไฟ กลัวความมืด กลัวหมอ กลัวดังกล่าวมักเกิดกับเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย
                                เมื่อเด็กอายุเพิ่มมากขึ้น ความกลัวจะลดลง แต่เด็กที่เดความกลัวเนื่องมาจากความคิด การใช้จินตนาการมากขึ้น กลัวต่อสถานการณ์ที่คิดว่าเป็นสิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติครั้งเมื่อเด็กกลัวแล้ว เด็กจะมีการหลีกหนีไปจากสถานการณ์ที่ทำให้ตนเกิดความกลัว
                                ความอาย ความอายจะเป็นรูปแบบหนึ่งของความกลัว เดกที่มีอายุน้อย มักจะเกิดความอายมากกว่าเด็กที่มีอายุมากๆ อาการที่แสดงให้เห็นว่าเด็กเกิดความกลัว คือ เด็กจะมีการแสดงออกในลักษณะของอาการทางประสาท เข่น การจับผม ดึงจมูก จับใบหู จับเสื้อผ้า ใช้เท้าเขี่ยสิ่งของหรือบุคคล
                                ความกลุ้มใจ ความกลุ้มใจเป็นความกลัวที่มีผลมาจากการใช้ความคิดหรือการใช้จินตนาการของวัยเด็กตอนปลาย ความกลุ้มใจจะเริ่มเกิดขึ้นในวัยเด็กตอนปลายนี้เอง เพราะเด็กจะมีปัญหากับเพื่อน ครูที่โรงเรียนและเมื่ออยู่ที่บ้านก็อาจจะมีปัญหากับบุคลในครอบครัว
                                ความกังวลใจ ความวิตกกังวลใจอาจเดขึ้นกับเด็กซึ้งไม่เป็นที่ยอมรับจากเพื่อน ความวิตกกังวลใจมักจะเกดขึ้นกับเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย และเด็กที่ได้รับความกดดันไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามมักจะเกิดความกังวลใจมากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับแรงกดดันจากใคร
                                2.ความโกรธ
                                เมื่อเปรียบเทียบกับความโกรธของเด็กวัยตอนต้นจะมีความเห็นและพบว่าวัยเด็กตอนต้นจะมีความโกรธน้อยกว่าวัยเด็กตอนปลาย  เพราะวัยเด็กตอนปลายมีความต้องการในสิ่งต่างๆเพิ่มขึ้น  ผลก็คือเด็กเกิดความคับข้องใจได้ง่ายขณะเดียวกันเด็กจะมีการตำหนิติเตียนในสิ่งที่ทำให้ตนเกิดความโกรธได้  บางคนใช้วิธีการต่อต้านวัตถุและสิ่งของโดยตรง  บางคนหลีกหนี  และบางครั้งมีการก้าวร้าวอย่างรุนแรง
                                3.ความริษยา
                                ความริษยาในพี่น้องยังคงมีอยู่แม้ว่าเด็กจะเข้าโรงเรียนแล้วในบางครั้งจะมีความริษยาเพิ่มมากขึ้นเพราะเด็กจะต้องไปโรงเรียน  ไม่มีโอกาสอยู่บ้านและมารดาไม่ได้ให้ความสนใจในเด็กเท่าที่ควร  แต่มารดาหันไปให้ความสนใจน้องแทนจึงทำให้เกิดความริษยา
                                การแสดงออกถึงความริษยาของเด็กมีการแสดงออกโดยการทะเลาะวิวาท  หัวเราะเยาะ  รังแกเด็กที่ตนมีความรู้สึกริษยาโดยตรงและอาจมีการแสดงออกโดยทางอ้อมคือ พูดกระทบกระเทือน เป็นต้น
                                4.ความอยากรู้อยากเห็น
                                ความอยากรู้อยากเห็นของวัยเด็กตอนปลายจะลดน้อยลงกว่าวัยเด็กตอนต้นเพราะเด็กได้มีประสบการณ์มาพอสมควรแล้วมีความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ ได้ดีเด็กจะพยายามแสวงหาคำตอบให้กับปัญหาที่พบได้ด้วยตนเอง
                                5.อารมณ์รัก
                                อารมณ์ซึ่งแสดงออกในวัยเด็กตอนปลายนี้จะมีการแสดงออกเพียงเล็กน้อยโดยเฉพาะวัยเด็กตอนปลายทั้งชายหญิงจะไม่ยอมรับการแสดงออกของความรักจากผู้ใหญ่ในที่ชุมชนเพราะเด็กมีความรู้สึกว่าตนเป็นผู้ใหญ่แล้ว
                                6.อารมณ์ร่าเริง
                                เด็กจะมีลักษณะคล้ายกับวัยเด็กตอนต้นเด็กมักจะยิ้มหรือหัวเราะเมื่อผ่านสถานการณ์ที่ทำให้เด็กตกใจไปชั่วขณะ  หรือเมื่อได้ยินเสียงดังอย่างทันทีทันใดและมีการเปลี่ยนแปลงเป็นความตื่นเต้น
                                การแสดงออกถึงความร่าเริงของวัยเด็กตอนปลายจะมีการหัวเราะด้วยเสียงอันดัง  เด็กชายจะมีการตบศีรษะหรือหลังเพื่อน  เด็กหญิงอาจจะมีการทุบเพื่อน  กอดรัดหรือจูบได้
                3.พัฒนาการทางสังคม
                เด็กชายและเด็กหญิงเล่นด้วยกันน้อยลง ความสนใจก็ต่างกันออกไป ถึงกระนั้นเด็กทั้งสองเพศต่างก็เห็นความสำคัญของการเป็นที่รู้จักในหมู่เพศตรงข้าม สัมพันธภาพระหว่างเพศไม่แน่นอน เปลี่ยนเพื่อนอยู่เสมออย่างไรก็ดีเด็กวัยนี้ชอบอยู่เป็นกลุ่มทำให้เด็กสามารถทำอะไรได้สำเร็จ และเพิ่มความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญขึ้น
                การรวมกลุ่ม  ระหว่างวัยนี้ความรักกลุ่มและเพื่อนร่วมชั้นจะพัฒนาขึ้น และต้องการให้กลุ่มยอมรับตน การเข้าแก๊งของเด็กชายก็เนื่องจากหนีจากสภาพทางบ้านที่ตนเบื่อหน่าย เด็กชอบสร้างกฎเพื่อตนเองการเข้ากลุ่มอาจทำให้เกิดการเสียหายมากกว่าสร้างก็ได้ เพราะชุมนุมของเด็กชายมักมีกิจกรรมผจญภัย  ขัดขืนคำห้ามของผู้ใหญ่  ครูเองบางครั้งก็ต้องเผชิญกับความขัดแย้งของกลุ่มเด็ก  ครูอาจปล่อยให้เด็กได้ทำตามสิ่งที่ต้องการไปก่อนและช่วยโน้มน้าวแนะนำแก้ไขภายหลัง  ทั้งนี้จะทำให้เด็กเรียนรู้การแก้ปัญหาจากประสบการณ์ที่ได้มาด้วยตัวเอง
                ปัจจัยการยอมรับทางสังคม
                เด็กที่ไม่มีเพื่อนเลยจะไม่สามารถทำตัวให้เข้ากับกลุ่มเพื่อนได้เพราะขาดการยอมรับจากกลุ่ม  เด็กที่ได้รับการยอมรับทางสังคมจะเข้าใจตนเองได้ถูกต้องขึ้น  มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีขึ้น  และสามารถทำงานรับผิดชอบในกลุ่มได้อย่างผ่อนหนักผ่อนเบา  ทั้งนี้เด็กมีความอบอุ่นมั่นคงทางใจ  การอยู่ร่วมกับกลุ่มของเด็กดูจะมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจสังคมของเด็กด้วย  เด็กที่ครอบครัวฐานะดีจะให้ความร่วมมือในสังคมมากขึ้น
                ในการเลือดคบเพื่อน  เด็กวัยก่อนรุ่นจะเลือกจากตัวบุคคลเป็นอันดับแรก  เลือกคนที่แจ่มใส  เมตตา  ให้ความร่วมมือ  โอบอ้อมอารี  สุภาพ  ซื่อตรง  พูดตกลงกันง่ายและอารมณ์มั่นคง  เด็กอายุ  8-10  ปีมักเน้นคุณภาพทางความซื่อสัตย์  และความกล้ามาก  เมื่อมีอายุมากขึ้นกว่านี้จะชอบเพื่อนที่มีความรับผิดชอบ  รักความสะอาดยิ่งขึ้น
                เหตุผลอื่น ๆ ที่เด็กวัยก่อนรุ่นให้ในการคบเพื่อนคือมีความสนใจและสิ่งอื่นคล้ายคลึงกัน  แต่เพื่อนก็เปลี่ยนหน้าเรื่อยไป  นอกจากนี้  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  รายได้ครอบครัวและเหตุอื่น ๆ  ก็เป็นตัวสำคัญในการเลือกคบเพื่อนของเด็กวัยก่อนรุ่นด้วย  ผู้ที่ไม่ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้า  แต่ถ้ามีคุณสมบัติที่ดึงดูดให้คนอื่นเข้าใกล้ก็มีเพื่อนมากได้เหมือนกัน
                ความรู้สึกไวต่อสังคมและเจตนคติที่ดีต่อสังคมจะพัฒนาขึ้นได้ก็เมื่อเด็กได้รับสิ่งแวดล้อมดังนี้
-         ผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างในทางมีเมตตา  และมีความคำนึงถึงผู้อื่นด้วยเสมอ
-         ผู้ใหญ่ยองรับเจตนคติในการคำนึงถึงผู้อื่นของเขาด้วย
เด็ก ๆ จะรู้คุณค่าของตัวบุคคลมากขึ้นเมื่อเขาได้มีโอกาสให้ส่วนร่วมและสวัสดิภาพแกกลุ่ม  ความคิดฝันทางทำประโยชน์ให้สังคมจะเกิดขึ้น  ซึ่งช่วยให้รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ความสนใจ
                1.การเล่น  การเล่นของเด็กเป็นเสมือนการปลดปล่อยพลังงานใช้เป็นการเตรียมชีวิตผู้ใหญ่  เป็นการหนีจากสิ่งเครียดและน่าเบื่อทั้งหลาย  เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  เป็นความต้องการของร่างกายและจิตใจด้วย  นอกจากนี้การเล่นของเด็กยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงวุฒิภาวะทางสังคม  และสามารถแสดงให้เห็นถึงบุคลิกของเด็กได้ชัดว่ากิจกรรมใด ๆ แม้แต่การวินิจฉัยโรคและการรักษาก็อาจทำได้โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กเล่น
แม้ว่าเนื้อหาจะเปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อม  แต่ก็เห็นได้ว่าเด็ก 9 ขวบเปลี่ยนแปลงการเล่นมากที่สุด  จากนี้ไปการเล่นแปลก ๆ ของเด็กจะลดลง  แต่ต้องการเล่นอย่างอิสระนอกบ้านมากขึ้น  อย่างไรก็ดีเป็นที่ประจักษ์แต่ละบุคคลสนใจในการเล่นแตกต่างกัน  เด็กวัยนี้เล่นเป็นกลุ่มเล็กที่สนิทกัน  และชอบแข่งขันที่เป็นกลุ่ม  ไม่ชอบเล่นรุนแรง
                ผู้ใหญ่ควรหาเครื่องเล่นที่มีกิจกรรมสร้างสรรค์ตามที่เด็กต้องการและอำนวยความสะดวกให้  เพื่อให้เด็กสามารถวางโครงทำกิจกรรมของตนเองได้  เด็กมีกิจกรรมร่วมกับกลุ่มได้  ผู้ใหญ่เพียงแต่แนะแนว  ระหว่าง 9-16  ปี  เด็กชอบเล่นกีฬาที่ต้องใช้ทักษะในการขว้างและรับ  จะเห็นว่าบอลเกมที่ใช้จิตนาการนั้นลดลงในระหว่างวัยนี้
                อย่างไรก็ดี  ความสนใจในการเล่นที่เปลี่ยนไปนี้ค่อยเป็นค่อยไป  มิได้เปลี่ยนไปทันทีตามวัย  เด็กวัยเดียวกันความสนใจในการเล่นแตกต่างกันมากกว่าการเล่นระหว่างกลุ่ม  ระหว่างวัยรุ่นทั้งเด็กชายและเด็กหญิงจะตกลงกันง่ายขึ้นเพื่อเลือกเล่นสิ่งที่เขาพอใจมากกว่า  แต่เด็กหญิงทุกวัยมักจะเล่นตามขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่าเด็กชาย
                เด็กชายอายุ 8- 12  ปี  ชอบเล่นวิ่งแข่ง  เล่นโลดโผน  ใช้เครื่องยนต์กลไก  เด็กหญิงวัยก่อนรุ่นชอบการครัว  การตัดเย็บ  ตกแต่งบ้านและการแสดงที่เกี่ยวกับเรื่องจริง  กิจกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้เด็กได้ใช้อวัยวะเคลื่อนไหวได้ดีเท่านั้น  แต่ยังทำให้มีความรู้มากขึ้นด้วย  เด็กฉลาดกับเด็กที่สมองช้าสนใจการเล่นแตกต่างกัน  คุณค่าของกิจกรรมที่ดีที่สุดสำหรับเด็กคือ  ความสนุกเพลิดเพลินและการเตรียมชีวิตผู้ใหญ่  การเล่นเป็นหมู่ช่วยให้เด็กที่วัยก่อนรุ่นมีความกล้า  รู้จักใช้ความคิด  มีความร่วมมือ  ทำตามกฎเกณฑ์  และมีความพยายามต่องานที่เบื่อหน่าย  ซึ่งเป็นเครื่องมือฝึกฝนทักษะให้มีขึ้นได้
                ในระหว่างวัยนี้  เด็กที่สนใจดนตรีอาจจะมีทักษะในการเล่นดนตรีมากขึ้นพ่อแม่ควรให้โอกาสเด็กได้เล่นดนตรี  เด็ก ๆ ต้องการเล่นกลางแจ้งที่ใช้กำลังหกคะเมนตีลังกา  การเล่นเป็นกลุ่มมีส่วนช่วยสอนมนุษย์สัมพันธ์ด้วย
                2.การสะสม  เด็กวัยก่อนรุ่นชอบการสะสมเป็นงานอดิเรกมากที่สุด  การสะสมของเด็กขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและวัย  ถ้าผู้ใหญ่แนะแนวให้รู้จักการสะสม  ก็จะเป็นกิจกรรมที่ให้คุณค่าทางการศึกษา  และสร้างจิตนิสัยที่ดีงาม  เพราะเด็กได้เรียนการแยกประเภทของ  และช่วยให้มีระเบียบจัดเข้ากลุ่ม
4 พัฒนาการทางปัญญา
                เชาว์ปัญญาของเด็กวัยก่อนรุ่นจะเห็นได้จากความสามารถในการใช้เหตุผลเข้าใจความหมายของคำพูดได้ถูกต้อง  และสามารถให้คำจำกัดความแก่คำที่เป็นนามธรรม ได้  ในระหว่างวัยก่อนรุ่นนี้เด็กสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น  ความสนใจในการเล่นทายปัญหาจะมีมากที่สุดในวัยนี้  ผู้ใหญ่ควรส่งเสริม
                การเปลี่ยนแปลงทางระบบความคิดมีมากขึ้นตามวัย  ภายในขอบเขตของพันธุกรรมที่ได้รับมาเชาว์ปัญญาพัฒนาจากการได้ใช้สมองบ่อยๆ  ดังนั้นในการวัดความสามารถของเด็ก  ครูควรคำนึงถึงพื้นเดิมทางพันธุกรรมและประสบการณ์ที่ผ่านมาของเด็กด้วยการศึกษามีความงอกงามทางปัญญาบทบาทของการศึกษาจะสำคัญยิ่งขึ้นจากอายุ 12 ปีเป็นต้นไป
                เด็กสมองช้าจะไม่ใคร่มีสมาธิในการทำงานที่ยากขึ้น  ทำงานได้ผลน้อยกว่าเด็กปกติ  ถ้าเด็กมีความสามารถในการใช้คำพูดที่เป็นนามธรรมสูง  ก็จะเห็นได้ว่าเป็นเด็กฉลาด  สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆได้  มีความคิดสร้างสรรค์รู้จักคิดเองรักการอ่าน มีอารมณ์มั่นคง ฯลฯ  คุณสมบัติเหล่านี้จะแสดงออกให้เห็นตั้งแต่วัยต้นๆ มีความสามารถสูงในการพิจารณาตัดสินใจด้วยตนเองและสามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้  เด็กวัยก่อนรุ่นที่ฉลาดความมีอิสระที่จะวางโครงการศึกษาด้วยตนเอง วางความมุ่งหมายของกิจกรรมและแกปัญหาด้วยตัวเอง ควรจัดเด็กฉลาดเข้าชั้นพิเศษเพื่อส่งเสริมความสามารถพิเศษที่เขามีอยู่
                มีคุณลักษณะหลายประการที่ควรปลูกฝังให้มีขึ้นในวัยเด็กก่อนรุ่น ได้แก่  การให้ความร่วมมือรู้จักรับผิดชอบ  กล้า  เมตตา ยุติธรรม ไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น ซาบซึ้งในความงาม และมีความคิดสร้างสรรค์
                ในระหว่างวัยนี้ เด็กจะสามารถควบคุมตนเองได้มากขึ้น ถ้าผิดพลาดจะกระวนกระวายใจ และจะทำตัวให้เข้ากับสังคมได้มากขึ้น ครามเชื่อมั่นในตนเองของเด็กได้มาจากการที่เพื่อนยอมรับเข้ากลุ่มเขาจะพยายามทำตนให้เหมือนเพื่อนและสร้างแนวทางของตนเองขึ้น
สรุป
          กลุ่มเด็กในวัยก่อนรุ่นมีอัตราความเจริญเติบโตแตกต่างกันเด็กที่มีกระสวนความเจริญเติบโตเร็ว จะเข้าสู่วัยแตกเนื้อสาวเร็วมีลักษณะเพศขั้นที่สองปรากฏขึ้นเรื่อยๆ เด็กหญิงจะเติบโตเร็วกว่าเด็กชายประมาณ 1-2 ปี เด็กหญิงแตกเนื้อสาวอายุ 10-13 ปี และเด็กชายแตกเนื้อหนุ่มระหว่างอายุ 14-15 ปี ก่อนจะถึงระยะแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว เด็กจะมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วอยู่ประมาณ 1-2 ปี และอัตราการเจริญเติบโตคงเป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุดเมื่อเข้าสู่วัยแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว หลังจากนี้อัตราการเจริญเติบโตจะค่อยช้าลง และเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ปัญหาของเด็กวัยก่อนวัยรุ่นเกิดขึ้นเพราะเด็กมีการเจริญเติบโตเข้าสู่วัยแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาวไม่พร้อมกัน ทำให้เกิดปัญหาทางอารมณ์และสังคม การมีร่างกายเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สภาพผู้ใหญ่เรื่อยๆทำให้เด็กมีความกังวลใจเกี่ยวกับรูปร่างของตนเอง ต้องการได้ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่ม และไม่ต้องการพึ่งผู้ใหญ่ กลุ่มหรือคณะมีอิทธิพลยิ่งกับเด็กวัยนี้ แต่เป็นวัยที่ทั้งสองเพศเริ่มแยกกันเล่นและแยกกันทำกิจกรรม ทั้งสองเพศเริ่มทำตัวเป็นศัตรูต่อกัน ความสนใจแตกต่างกันพัฒนาการทางปัญญาเป็นผลจากที่เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความสามารถในการอ่านเพิ่มขึ้น  


สรุปผลการสังเกตพฤติกรรมเด็ก(ช่วงอายุ10-12ปี)ของนักเรียนชั้นป.6/1 และป.5/3
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  (ฝ่ายประถม) 

ผลการสังเกต  สรุปได้ว่า

                เด็กๆชั้น ป.6/1 และ ป.5/3 ซึ่งอยู่ในช่วงวัยนี้(10-12 ปี) มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
ด้านร่างกาย
                ส่วนพบว่าเด็กหญิงจะมีขนาดร่างกายที่สูงใหญ่กว่าเด็กชาย เด็กชายบางคนมีเสียงแตกห้าว
ด้านสังคม
                ทั้งชายและหญิงจะมีการพูดคุยหรือมีการรวมกลุ่มกันเป็นเฉพาะกลุ่มแบ่งแยกกันเป็นพรรคพวกที่สนิทกันและไม่สนิทกัน  มีเพื่อนรู้ใจ  รวมถึงเรื่องแฟนด้วย  มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นอย่างรอบคอบมากขึ้น เด็กชายและเด็กหญิงจะมีความสนใจทีแตกต่างกัน และเริ่มมีพฤติกรรมเลียนแบบสังคมวัยรุ่น
ด้านอารมณ์
                เด็กมีอารมณ์ไม่มั่นคง  และแต่ละคนจะมีอารมณ์แตกต่างกันบางคนอารมณ์ดี บางคนซึม  เด็กชายชอบใช้ภาษที่ไม่สุภาพ หัวเราะเสียงดัง
ด้านสติปัญญา
                เด็กๆ มีความอยากรู้อยากเห็นอย่างมาก   จะถามเมื่อมีเรื่องที่ไม่เข้าใจทันที  นอกจากนี้ยังมีไหวพริบปฏิภาณดี   และมีความรู้รอบตัวดีมากสามารถตอบคำถามครูได้อย่างถูกต้อง  เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ค่อนข้างดี



นางสาวรติยา  พรมมงคล คณะพยาบาลศาสตร์  รหัส 5305110043

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น