วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรคเบาหวานคือ



     โรคเบาหวานคือ
เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้  โรคเบาหวานนี้เปรียบเทียบได้ง่ายๆ โดยเปรียบร่างกายเราเป็นระบบปั๊มน้ำ และน้ำในระบบก็คือเลือดของเราโดยปรกติแล้วปั๊มน้ำก็จะทำงานอย่างปรกติ แต่เมื่อมีการทำให้น้ำในระบบเกิดความข้นขึ้น(ก็คือการเติมน้ำตาลลงไปในน้ำ) น้ำในระบบก็จะมีความหนืดขึ้น ปั๊ม(หัวใจ)ก็จะต้องทำงานหนักขึ้น ท่อน้ำ(หลอดเลือด)ก็ต้องรับแรงดันที่มากขึ้น ดังนั้นคนที่เป็นโรคเบาหวานก็จะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะต่างๆเพิ่มขึ้นได้ปี 2550 พบผู้ป่วยเบาหวานแล้วถึง 246 ล้านคน โดยผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชียเบาหวาน เป็นโรคที่เป็นกันมากขึ้นทุกปีจนมีการกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวันเบาหวานโลกเพื่อให้มีการรณรงค์ป้องกันให้เป็นที่แพร่หลายขึ้น
   ( ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ฉบับสมบูรณ์ : ศาสตราจารย์ นพ.  เทพ หิมะทองคำ และคณะกรุงเทพ :วิทยพัฒน์ : 2552 ฉบับพิมพ์ที่ 3 )
สาเหตุและโอกาสที่ทำให้เป็นโรคเบาหวาน
สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานยังไม่ทราบแน่นอน แต่องค์ประกอบสำคัญที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดได้แก่ กรรมพันธุ์ อ้วนลงพุง โรคอ้วน ขาดการออกกำลังกาย หากบุคคลใดมีปัจจัยเสี่ยงมากย่อมมี่โอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้แสดงข้างล่างนี้การคัดกรองของโรคเบาหวานชนิดที่สองในบุคคลทั่วไป ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองพบมากและมักจะวินิจฉัยไม่ได้ในระยะแรก การที่มีภาวะน้ำตาลสูงเป็นเวลานานๆทำให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะต่างๆเช่น ตา หัวใจ ไต เส้นประสาท เส้นเลือด นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในโลหิตสูงร่วมด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการวินิจฉัยให้เร็วที่สุดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน การตรวจคัดกรองเบาหวานในผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการ ผู้ที่ไม่มีอาการของโรคเบาหวานสมควรได้รับการเจาะเลือดตรวจตรวจหาเบาหวาน คือ    1. คนที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 และมีปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งการคำนวณดัชนีมวลกาย
  • ประวัติครอบครัวพ่อแม่ พี่ หรือ น้อง เป็นเบาหวาน
  • ชนชาติหรือเชื้อชาติกลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูงมากกว่า140/90 mmHg
  • ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า35 มก%และหรือ TG มากกว่า250 มก.%
  • ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักเด็กแรกคลอดมากกว่า4กิโลกรัม
  • มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้ป่วยที่อ้วนมากหรือมีลักษณะเป็นภาวะดื้อต่ออินซูลิน
2.     หากไม่มีเกณฑ์ดังกล่าวก็ให้ตรวจเมื่ออายุ 45 ปี
3.     หากผลปกติตรวจทุก 3 ปี   http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/risk.htm (วันที่ 16 /8/2554 เวลา 19.25.)
        ประเภทของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน แบ่งเบาหวานเป็น 4 กลุ่ม
โรคเบาหวานเป็นกลุ่มของโรคซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดปกติของการสร้าง หรือการออกฤทธิ์ หรืออาจจะเกิดจากกลไกทั้งสอง ผลจากการที่น้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็งและมีการทำลาย ไต สมอง หัวใจ ระดับน้ำตาลเมื่อเป็นใหม่ๆจะไม่สูงแต่เมื่อเวลาผ่านไประดับน้ำตาลจะสูงขึ้น ชนิดของโรคเบาหวาน
1.   เบาหวานชนิดที่หนึ่ง [Type 1 diabetes,immune-mediated ] หรือที่เคยเรียกว่า Insulin-dependent diabetes ผู้ป่วยมักจะเกิดอาการก่อนอายุ 30 ปี ด้วยอาการหิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด เกิด ketosis ได้ง่าย เกิดจากมีการทำลายของ ß-cell ทำให้มีการหลั่งอินซูลินน้อยลง
2.    เบาหวานชนิดที่สอง [Type 2 diabetes,noinsulin dependent] เกิดจากที่ร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) ความสำคัญของโรคเบาหวานชนิดนี้ก็คือคนอาจจะเป็นโรคเบาหวานโดยที่ไม่เกิดอาการอะไร เมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคเบาหวานมักจะมีโรคแทรกซ้อนแล้วร้อยละ 50 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานจะต้องตรวจเลือดแม้ว่าจะยังไม่มีอาการของโรคเบาหวาน ผู้ป่วยมักจะมีอายุมากกว่า 30 ปีมักจะวินิจฉัยโดยการเจาะเลือดตรวจร่างกายโดยไม่มีอาการ ผู้ป่วยมักจะอ้วนโรคจะค่อยๆดำเนินจนเกิดโรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยจะมีระดับอินซูลินปกติหรือสูงสาเหตุที่เป็นเบาหวานเพราะมีภาวะต้านต่ออินซูลิน insulin resistance การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย จะช่วยในการควบคุมโรคเบาหวาน
3.  เบาหวานชนิดอื่นๆตามสาเหตุ เช่น พันธุกรรมเนื่องจากการทำงานของ beta cell,การออกฤทธิ์ของอินซูลิน หรือจากการติดเชื้อ จากยาเป็นต้น เนื่องจากพบไม่บ่อยจึงไม่ขอกล่าวในที่นี้
4.  เบาหวานในคนตั้งครรภ์ [ Gestation diabetes] เบาหวานที่เป็นขณะตั้งครรภ์
(www.siamhealth.net. วันที่ 16 /8/2554 เวลา 19.37.)
อาการเบื้องต้นของโรคเบาหวาน
ผู้เป็นโรคเบาหวานจะมีอาการเบื้องต้นคือ
1.   ปวดปัสสาวะบ่อย ครั้งขึ้น เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆมีน้ำตาลค้างอยู่มาก ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน สังเกตจากการที่มีมดมาตอมปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของการเรียก เบาหวาน
2.   ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น
3.   กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง
4.   อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง
5.    เบื่ออาหาร
6.    น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานได้เต็มที่จึงต้องนำไขมัน
7.   ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ เช่นติดเชื้อทางผิวหนัง สังเกตได้จากเมื่อเป็นแผลแผลจะหายยาก
8.   สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน
9.   อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกจึงถดถอยลง
10.  อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต
โรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
            มักจะเกิดเมื่อเป็น เบาหวาน อย่างน้อย 5 ปีแล้วไม่ได้รักษาอย่างจริงจัง
  • ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)เกิดจากการที่น้ำตาลเข้าไปใน endothelium ของ หลอดเลือดเล็กๆ ในลูกตา ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้มีการสร้างไกลโคโปรตีนซึ่งจะถูกขนย้ายออกมาเป็น Basement membrane มากขึ้น ทำให้ Basement membrane หนา แต่เปราะ หลอดเลือดเหล่านี้จะฉีกขาดได้ง่าย เลือดและสารบางอย่างที่อยู่ในเลือดจะรั่วออกมา และมีส่วนทำให้ Macula บวม ซึ่งจะทำให้เกิด Blurred vision หลอดเลือดที่ฉีกขาดจะสร้างแขนงของหลอดเลือดใหม่ออกมามากมายจนบดบังแสงที่มาตกกระทบยัง Retina ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลง ตาหรือจอตาเสื่อม หรือมองเห็นจุดดำลอยไปมา และอาจจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด
  • ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)ไตมักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย พยาธิสภาพของหลอดเลือดเล็กๆ ที่ Glomeruli จะทำให้ Nephron ยอมให้ albumin รั่วออกไปกับ filtrate ได้ Proximal tubule จึงต้องรับภาระในการดูดกลับสารมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นนานๆ ก็จะทำให้เกิด Renal failure ได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 3 ปี นับจากแรกเริ่มมีอาการ
  • ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy) เบาหวาน จะทำให้หลอดเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ เช่นรู้สึกชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือ เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค และแล้วแผลก็จะเน่า และนำไปสู่ Amputation ในที่สุด ในผู้ชายอาจมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ(impotence)
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease) เบาหวาน เป็นตัวการที่จะงให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกายและเมื่อหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจเสื่อมสภาพจาก เบาหวาน ประกอบกับการมีไขมันในเลือดสูง ก็จะส่งผลให้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิด โรคหัวใจขาดเลือด แต่หากหลอดเลือดเกิดอุดตัน ก็จะเกิดอาการ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ในผู้ป่วย เบาหวาน บางราย กล้ามเนื้อหัวใจมีการทำงานน้อยกว่าปกติ คือ มีการบีบตัวน้อยกว่าปกติอันเนื่องมาจาก เส้นเลือดฝอยเล็กๆที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจาก เบาหวาน ซึ่งจะทำการรักษาได้ยาก การรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ปัญหาที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งของผู้เป็น เบาหวาน คือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงอาการผิดปกติซึ่งจะบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจให้เห็นก่อน เช่นอาการเจ็บหน้าอก อันเป็นอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไป ดังนั้นผู้เป็น เบาหวาน บางรายอาจจะแสดงอาการครั้งแรกด้วยอาการที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ หัวใจล้มเหลว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease) ผู้เป็น เบาหวาน จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง เพราะ เบาหวาน ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่งร่างกายและถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมอง ก็จะเกิดอัมพาตขึ้น โดยอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติ 2-4 เท่า โดยจะมีอาการเบื้องต้นสังเกตุได้จาก กล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างทันทีทันใดหรือเป็นครั้งคราว ใบหน้าชาครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง พูดกระตุกกระตัก สับสนหรือพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว ตาพร่าหรือมืดมองไม่เห็นไปชั่วครู่ เห็นแสงผิดปกติ วิงเวียน เดินเซไม่สามารถทรงตัวได้ กลืนอาหารแล้วสำลักบ่อยๆ มีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรงโดยอาการปวดมักจะเกิดในขณะที่เคร่งเครียด หรือมีอารมณ์รุนแรง
http://thaidiabetes.blogspot.com/  (วันที่ 16/8/2554 เวลา 19.4 3.)
การป้องกันและการดูแลคนที่เป็นโรคเบาหวาน
1.   ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และแก้ไขปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอันจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน
2.   ควบคุมโภชนาการ ให้มีความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย รวมไปจนถึงการใช้ยารักษาโรค
3.    ควรตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ โดยปรึกษาแพทย์ว่าควรตรวจเช็คเมื่อใด และ ระยะเวลาห่างในการตรวจที่เหมาะสม
4.    ยาบางชนิดหรือยาสมุนไพร อาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด จะต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา หรือ สมุนไพร เหล่านี้
(โรคเบาหวาน Diabetes Mellitus : สุทิน ศรีอัษฎาพร และ คณะ :เรือนแก้วการพิมพ์:
พิมพ์ครั้งที่ 1 )
การดูแลสุขภาพร่างกายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิต้านทานโรคต่ำกว่าปกติจึงมีโอกาสติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายเช่น การอักเสพของผิวหนัง ช่องปาก และเท้า เป็นต้น ถ้าควบคุมเบาหวานไม่ดีปัญหาเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ง่ายและในทางกลับกัน เมื่อมีปัญหานี้เกิดขึ้นการควบคุมโรคจะยิ่งเลวร้ายลงมาก การรักษาเบาหวานมุ่งเน้นเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติ และป้องกันโรคแทรกซ้อนในระยะยาว ในการรักษาเบาหวานมีหลักการที่สำคัญคือการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย การรักษาจะไม่ได้ผลหากผู้ป่วยมาคุมอาหารหรือออกกำลังกาย ปัจจุบันการรักษาด้วยยาได้รับความนิยมใช้ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่สองเนื่องจากปัจจัยดังต่อไปนี้
1.  มีหลักฐานยืนยันว่าการควบคุมเบาหวานที่ดีสามารถลดโรคแทรกที่เกิดจากเบาหวาน
2.  การวินิจฉัยเบาหวานใช้เกณฑ์ 126 มก.%ทำให้เริ่มรักษาเบาหวานเร็วขึ้น
3.  ความปลอดภัยของยามีมากขึ้นเกิดภาวะน้ำตาลต่ำน้อยลง
ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือดมีกี่ประเภท เราแบ่งยาเม็ดลดระดับน้ำตาลออกเป็น 2 ประเภท
1.  เสริมการออกฤทธิ์ของอินซูลิน Agents Enhancing the Effectiveness of Insulin ยาในกลุ่มนี้ไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือด
2.   ยาเพิ่มการหลั่งของอินซูลิน Agents Augmentating the supply of Insulin ยาในกลุ่มนี้เพิ่มการหลั่งของอินซูลิน
เมื่อรับประทานยาลดน้ำตาลในเลือดควรปฏิบัติตัวอย่างไร
  • รับประทานอาหารให้สม่ำเสมอ และตรงต่อเวลา
  • รับประทานยาตามมื้อที่แพทย์สั่ง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา
  • ควรทราบผลข้างเคียงของยาโดยสอบถามจากแพทย์หรือศึกษาจากคู่มือในการใช้ยา เมื่อสงสัยว่าจะเกิดอาการแพ้ยาควรปรึกษาแพทย์
  • ควรแจ้งแพทย์ว่ามีประวัติแพ้ยาอะไรบ้าง
  • ควรทราบวิธีแก้ไขเมื่อมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ทราบวิธีปฏิบัติตัวเมื่อเวลาเจ็บป่วย
  • หากการควบคุมน้ำตาลยังไม่ดีควรจะเจาะน้ำตาลปลายนิ้วที่บ้าน
วิธีป้องกันมิให้ลืมรับประทานยา
  • รับประทานยาเวลาเดียวกันทุกวัน
  • รับประทานยาเวลาเดียวกับยาอื่นๆที่ใช้อยู่ หรือสัมพันธ์กับกิจกรรมอื่น เช่นหลังแปรงฟัน
  • เก็บยาไว้ในที่มองหาง่ายและหยิบง่าย ไม่ต้องแช่เย็น
  • ให้ความสนใจมื้อที่มักลืมเสมอ
  • แบ่งขนาดยาเป็นมื้อๆต่อวัน
วันที่ 16 /8/2554 เวลา 19.50.)
การบริโภคอาหารเมื่อเป็นโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่สองเกิดจากการที่ร่างกายเราไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเพียงพอ ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งคือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน คำถามที่มักจะได้ยินผู้ป่วยเบาหวานถามคือ "จะรับประทานอะไรได้บ้าง"ซึ่งแพทย์ก็จะแนะนำให้ลดอาหารหวาน ลดมันและมีอาหารต้องห้ามอีกหลายรายการ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะทราบว่าอาหารประเภทไหนไม่ควรรับประทาน ปัญหาคือผู้ป่วยขาดความมีวินัยนั้น
มหาวิทยาลัย Harvard ได้แนะนำวิธีรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานดังนี้
1.  ให้รับประทานอาหารหลากหลาย ไม่มีอาหารประเภทใดที่ดีสำหรับโรคเบาหวาน ต้องรับประทานอาหารหลากหลายเพราะจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
2.  รับอาหารพวกผักและผลไม้เพิ่มขึ้น ส่วนพวกเนื้อสัตว์ให้ลดลง
3.   รับประทานอาหารสด หรือทำเอง หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารจานด่วนทั้งหลาย
4.   ส่วนอาหารมันให้หลีกเลี่ยง ลดเนื้อสัตว์ ลดหนังสัตว์ นม ให้ใช้นมพร่องมันเนย stick margarine อาหารทอด ของทอดขนมขบเคี้ยว หลีกเลี่ยงอาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน tranfatty acid หากจะใช้น้ำมันให้ใช้น้ำมันมะกอกแทน
5.  อาหารจำพวกแป้งต้องเลือกรับประทาน หลีกเลี่ยงน้ำตาล น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ขนมปัง หากรับขนมปังควรเลือกชนิด whole grain
6.  ดื่มนมพร่องมันเนยวันละ 3 แก้ว
7.  รับประทานโปรตีนพอควรโดยเลือกโปรตีนจากเนื้อปลา เนื้อไก่ไม่ติดหนัง และโปรตีนที่มีจากถั่วต่างๆ เต้าหู้
8.  ลดอาหารเค็มโดยบริโภคเกลือไม่เกิน 2300 มกต่อวันโดยการลดเครื่องปรุสรส เช่นซี่อิ้ว ซ๊อส เกลือ ของดอง ซอสมะเขือเทศ ของขบเคี้ยว
9.   รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียมเพิ่มซึ่งพบในอาหาร ผัก ผลไม้ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นมพร่องมันเนย ผักใบเขียว
10.  รับประทานอาหารธัญพืช ข้าวกล้องอย่างน้อยวันละ 6 ออนซ์(ธัญพืช 1 ถ้วย,ข้าวครึ่งถ้วยเท่ากับ 1 ออนซ์) ยิ่งรับประทานมากยิ่งดี
11.  รับประทานผักเพิ่มโดยเฉพาะผักใบเขียว และใบเหลือง โดยให้มีผักทุกมื้อ
12.  รับประทานผลไม้เพิ่ม(ต้องระวังผลไม้ไทยเพราะหวานมาก)
13.  รับประทานปลาเพิ่มน้อยสี่ครั้งต่อสัปดาห์ โดยนำไปย่าง อบหรือ ต้ม
14.  หากท่านชอบเนื้อต้องลดปริมาณลง และรับอย่าถี่ไป ให้ใช้เนื้อไก่แทน
15.  ส่วนเรื่องไข่ที่ถามกันบ่อย ให้รับประทานเท่าที่จำเป็นโดยไม่มากกว่าปริมาณไข่ขาวหนึ่งฟองต่อวัน
16.  รับประทานถั่วซึ่งมีหลักฐานว่าลดการเกิดโรคหัวใจ แต่ระวังน้ำหนักเพิ่ม
17.  ใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก แทนน้ำมันปาล์ น้ำมันมะพร้าว กะทิ
18.    ดื่มสุราไม่เกิน 1-2 drink)์( Count 5 ounces of wine, 12 ounces of beer, or 1½ ounces of liquor as one drink)
19.  ปรับอาหารและการออกกำลังเพื่อรักษาน้ำหนักให้คงที่
20.  ที่สำคัญคืออย่าไปเชื่อในสิ่งที่ไม่ได้มีการพิสูจน์

อาหารที่ห้ามรับประทานเมื่อเป็น เบาหวาน diabetes

 

 

  • น้ำตาลทุกชนิด รวมไปถึงน้ำผึ้ง
  • ผลไม้กวนประเภทต่างๆ
  • ขนมเชื่อม ขนมหวานต่างๆ และผลไม้ที่มีรสหวานมากๆ และน้ำหวานประเภทhttp://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/food_guide.html (วันที่ 16 /8/2554 เวลา 19.55.)
คำแนะนำเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
1.  เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้เวลาการรักษานานหรือตลอดชีวิต หากไม่ได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องก็อาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อนได้มาก
2.   ผู้ที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการได้แก่ ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย ตัวเย็น เหงื่อออก ถ้าเป็นมากๆ อาจเป็นลม หมดสติ และอาจจะชักได้ ควรจะต้องพก น้ำตาลหรือของหวานติดตัวไว้ ถ้ารู้สึกมีอาการก็ให้รีบรับประทาน แล้วทบทวนดูว่าเกิดอาการเหล่านี้ได้อย่างไร โดยสังเกตตัวเองจากการบริโภคอาหารเมื่อเป็นเบาหวานเช่น กินอาหารน้อยไปหรือไม่ ออกกำลังมากเกินไปหรือไม่ กินหรือฉีดยาเบาหวาน เกินขนาดไปหรือไม่ แล้วควบคุมทั้ง 3 อย่างนี้ให้พอดีกัน สำหรับผู้ที่กินอาหารผิดเวลาก็อาจเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควร รับประทานอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อด้วย
3.   อย่าซื้อยากินเอง เนื่องจากยาบางประเภทมีผลต่อค่าน้ำตาลในเลือดได้ เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ และยาบางประเภทก็อาจทำให้ฤทธิ์ของยารักษาเบาหวาน แรงขึ้นได้ ก็จะมีผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ เช่น แอสไพริน ดังนั้นเมื่อเป็นเบาหวาน ก่อนทานยาประเภทใดควรจะต้องแน่ใจว่ายานั้นไม่มีผลต่อค่าน้ำตาลในเลือด
4.  ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นเบาหวาน ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นครั้งคราว เพื่อป้องกันตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม    

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการรักษาเบาหวานที่สำคัญมากด้วย ไม่ควรออกกำลังกายหักโหมและทันทีเพราะจะทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อบาดเจ็บได้ การออกกำลังกายที่เหมาะสมคือ การค่อยๆ ออกกำลังกายจนมีเหงื่อเล็กน้อย ระยะเวลาที่ออกกำลังกายอยู่ระหว่าง ๒๐ - ๓๐ นาที ให้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ - ๓ ครั้ง ถ้าสามารถออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันได้ จะยิ่งดีมาก และผู้นั้นจะออกกำลังกายได้นานขึ้นโดยไม่เหนื่อยง่าย ปริมาณงานของการออกกำลังกายแต่ละวัน จะต้องมีขนาดอย่างน้อยเท่ากับการเดินเร็วนาน ๓๐ นาทีต่อวัน สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินอยู่แล้ว หรือมีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อมหรือเจ็บที่เท้า การออกกำลังกายในสระน้ำ จะช่วยให้มีการออกกำลังกาย โดยไม่ทำให้ขาหรือเข่ามีปัญหามากขึ้น ควรออกกำลังกายโดยเล่นกีฬาบางอย่าง หรือ เดินเร็วๆ หรือวิ่งเหยาะๆ เป็นต้น
           http://thaidiabetes.blogspot.com/ วันที่ 16 /8/2554 เวลา 20.00.)

สรุป
โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบบ่อย การรักษาโรคเบาหวานประกอบด้วยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกายและการรับประทานยาหรือฉีดยา เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดต้องทำร่วมไปกับการรักษาระดับไขมันในเลือดและการควบคุมระดับความดันโลหิตและการรักษาเบาหวานก็เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
โรคเบาหวานที่พบในปัจจุบันอาจแบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ คือ โรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน และโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน โรคเบาหวานที่พบได้บ่อยและเป็น คือ โรคเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน โรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินพบได้ทั่วโลก และมีแนวโน้มที่จะพบสูงในประเทศที่กำลังพัฒนา
โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยและผู้ป่วยเบาหวานสามารถมีชีวิตอย่าเป็นสุขได้ แต่ผู้ป่วยต้องเข้าใจ และร่วมมือกับแพทย์ในการรักษาอย่างต่อเนื่อง การมีพฤติกรรมที่เหมาะสม การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การควบคุมน้ำหนักโดยการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง เป็นการส่งเสริมสุขภาพของผู้นั้น และทำให้เจ็บป่วยจากโรคอื่นน้อยลง การรักษาจึงจะได้ผลดี และส่งผลให้ร่างกายคงอยู่ในสภาพที่แข็งแรง


นางสาว กฤติญา  เพ็งตา
รหัสนิสิต 5305110002
คณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น