วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประเพณีนมัสการพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง ของจังหวัดเชียงราย



พระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง นับเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคเหนือและเป็นปฐมเจดีย์ในดินแดนล้านนา ทุก ๆ ปีจะมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปนมัสการพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุงอันศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งชมทิวทัศน์และทัศนียภาพบนดอยตุง เมื่อถึงกำหนดวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ (ราวมีนาคม) จะมีประเพณีนมัสการที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัด ศาสนิกชนผู้เลื่อมใสศรัทธา ทั้งชาวเชียงรายเอง ชาวจังหวัดใกล้เคียง ชาวเชียงตุงจากรัฐฉาน ประเทศพม่า ชาวหลวงพระบาง จากประเทศลาว ตลอดถึงชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน ก็จะหลั่งไหลขึ้นไปนมัสการในวันสำคัญนี้อย่างเนืองแน่น
งานประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุเจ้าดอยตุง จะได้พบเห็นภาพวัฒนธรรมประเพณีงดงามเป็นเอกลักษ์ของภาคเหนือ ภาพพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยพื้นถิ่น ชาวไทยภูเขา และพุทธศาสนิกชนจากประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงนับหมื่นคน ร่วมกันเดินแสวงบุญขึ้นดอยตุงกันอย่างคึกคักเป็นระยะทางร่วม 10 กิโลเมตร เพื่อนำเครื่องสักการะมานมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุงอันพระธาตุดอยตุงนี้ มีตำนานเล่าขานว่าถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช ผู้เป็นกษัตริย์แห่งนครโยนกนาคพันธ์ โดยพระองค์ได้ทำ 'ตุง' (หมายถึง 'ธง' ในภาษากลาง) มีความยาวถึงหนึ่งพันวาไปปักไว้บนยอดเขา หากตุงปลิวไปถึงที่ไหนก็ให้สร้างองค์พระเจดีย์ขึ้นที่นั่น เพื่อบรรจุพระรากแก้วขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาต่อมาได้มีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวายพระโอรสของพระเจ้าอชุตราช พระองค์จึงโปรดให้สร้างกระเจดีย์อีกองค์เคียงข้างองค์เดิม พระธาตุดอยตุงจึงมีเจดีย์สององค์ยืนตระหง่านคู่กันนับแต่นั้นมา
นับจากนั้นทุกปี จะมีการสรงน้ำพระธาตุดอยตุง อันเป็นประเพณีแสนงดงามที่ได้รับการอนุรักษ์มายาวนาน โดยถือกันว่าพระธาตุดอยตุงซึ่งประดิษฐานอยู่เหนือระดับน้ำทะเลถึง 4,000 ฟุตนั้น เป็นเจดีย์คู่ปีกุน ผู้เกิดในปีดังกล่าวจึงนิยมเดินทางมานมัสการและปัดกวาดทำความสะอาดบริเวณโดยรอบพระธาตุเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และแม้จะไม่ได้เกิดในปีดังกล่าวก็ยังสามารถเดินทางมาร่วมนมัสการพระธาตุคู่บุญเมืองเชียงรายกันได้โดยไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด 

         นางสาว วิไลรัตน์ ขาวดา คณะพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2  มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น   รหัสนิสิต 5305110026 

พิธีกรรม ” การสูตรขวัญ ” หรือ ” การสู่ขวัญ ”

พิธีกรรม  การสูตรขวัญ    หรือ     การสู่ขวัญ 
                ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสวยงามแหล่งหนึ่งของโลก   ทั้งทางด้านโบราณสถาน   ขนบธรรมเนียมประเพณี   วัฒนธรรม   และยังมีสถานที่ ๆ   น่าเที่ยวชมภายในประเทศไทยอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับโบราณสถาน   เกี่ยวกับธรรมชาติที่สวยงาม   และการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับวิธีชีวิตที่ได้ให้นักท่องเที่ยวได้ไปสัมพัสกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้าน   และในที่นี้ดิฉันขอนำเสนอเกี่ยวกับภูมิปัญญาของชาวจังหวัดของแก่น   ว่าที่จังหวัดขอนแก่นนั้นมีพิธีกรรมหนึ่งที่หน้าสนใจมาก   นั้นคือ     พิธีสูตรขวัญ    หรือ     พิธีสู่ขวัญ     เป็นพิธีกรรมที่ดี   เป็นพิธีที่เป็นเสมือนการสร้างศิริมงคลแด่ผู้ที่ได้ทำพิธีกรรมนี้
                คำว่า     สูตรขวัญ    หรือ     สู่ขวัญ     นั้นหมายถึง   การสร้างขวัญกำลังใจ   เสริมศิริมงคลตลอดจนการขับไล่สิ่งชั่วร้ายไปจากตน   ภายใต้ความเชื่อที่ว่า   ขวัญเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จในชีวิต   อยู่ดีมีความสุขมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับขวัญของคน ๆ  นั้น  ( ขอนแก่นคลังนานาธรรม , 2544 : 309 )
                ความเชื่อเกี่ยวกับ   “ ขวน ”   หรือ     ขวัญ ”   เป็นความเชื่อพื้นถิ่นของคนไทยเผ่าไทย – ลาว   ที่อาศัยอยู่ตามบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง   และสาขาต่าง ๆ  ของแม่น้ำโขง   ทั้งในประเทศลาวและบริเวณภาคอีสานของประเทศไทย   คนภาคอีสานที่สืบสายเลือดมาจากบรรพบุรุษเผ่าไทย – ลาวที่มีความเชื่อว่า   คนเรามีองค์ประกอบอยู่  2  ส่วนใหญ่ ๆ   นั้นคือ   ส่วนที่เป็นรูปธรรมซึ่งได้แก่   “ ฮูปร่าง ”  ( รูปร่าง )   “ ฮ่างคึง ”   ( ร่างกาย )   ปาก   คอ   หู   จมูก   แขน   ขา   ฯลฯ   กลับส่วนที่เป็นนามธรรม   ไม่มีตัวตน   มองไม่เห็นด้วยสายตาแต่เชื่อว่ามี   เรียกว่า   “ ขวัญ ”   คนเราจึงจะมีชีวิตที่ดี   หรือไม่ดีขวัญจึงมีบทบาทสำคัญมาก
                การสู่ขวัญจึงเป็นขวัญกำลังใจแด่คนและเสริมศิริมงคลทั้งทางด้านบ้านเรือน   ล้อเลื่อน   วัว   รถรา   เป็นการรวมศิริแห่งโภคทรัพย์   ( สวิง   บุญเจิม  ,  2549  :  430 )   ซึ่งทำพิธีโดย   “ หมอสูตร ”   หรือ   “ หมอสูตรขวัญ ”   เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมตั้งแต่ตนจนจบ  
( http : www.images.52010512097.multiply.multiplycontent.com/.../173427_4.pdf. )
ในการทำพิธีสูตรขวัญ   ผู้ที่เป็นเจ้าของขวัญจะนั่งใกล้ ๆ   พาขวัญแล้วตั้งจิตอธิฐานขอให้มีแต่สิ่งดี ๆ   เข้ามาในชีวิต   ขอให้มีความสุขและความเจริญแด่ตนเอง   โดยที่ข้อมือข้างหนึ่งมีด้ายสายสิญจน์และมืออีกข้างหนึ่งจับที่พาขวัญ   เมื่อทำพิธีจนถึงช่วงสุดท้ายก็ให้ผู้มาร่วมงานเข้ามาผูกข้อมือแด่เจ้าของขวัญพร้อมกล่าวคำอวยพร
                ดังนั้น   การสูตรขวัญ   เป็นพิธีกรรมที่เป็นการเสริมขวัญกำลังใจ   เสริมศิริมงคลทั้งแก่ตนเองและทรัพย์สินของเจ้าของขวัญนั้นเอง   เพื่อให้ผู้ที่ทำพิธีกรรมนี้พบแต่ความสุขและความเจริญหลังจากที่ได้ทำพิธีกรรมนี้
นางสาวกรวิภา   โทเรธรรม   รหัสนิสิต 5305110001 
คณะพยาบาลศาสตร์  ชั้นปีที่ 2   มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ


ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ เป็นงานประเพณีเก่าแก่ของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประเพณี ที่แปลกไม่มีปรากฏในที่อื่น ๆ เมื่อก่อนมีการเรียกชื่อแตกต่างกันไป จนกระทั้งเดือน ตุลาคม พ.2528 ทา คณะกรรมการการจัดงานได้ร่วมประชุมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดงานเป็นทางการ และมีมติให้ใช้ชื่องานว่างาน   ประเพณี อุ้มพระดำน้ำ ซึ่งชาวเพชรบูรณ์มีความเชื่อและศรัทธาอย่างแรงกล้า
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ตรงกับวัน แรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ของทุกปี จะตรงกับประเพณีของ เทศกาลสารทไทย ตามตำนานที่เล่ามาหลายชั่วอายุคน หรือประมาณ 400 ปีที่ผ่านมาได้ก่อกำเนิดพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธ์นี้ขึ้น โดยมีการเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมมีชาวประมงกลุ่มหนึ่งมีอาชีพจำปลาในแม่น้ำป่าสัก อยู่มาวันหนึ่ง อยู่มาวันหนึ่งมาชาวประมงกลุ่มนี้ได้ออกหาปลาตามปกติเช่นทุกวันก็เกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้น คือตั่งแต่เช้าถึงบ่ายไม่มีใครสามารถจับปลาได้แม้แต่ตัวเดียว จึงนั่งปรับทุกข์ซึ่งกันและกัน แต่ทันทีทันไดนั้นก็ได้เกิดเหตุมหัศจรรย์ขึ้น เรื่องจากกระแสน้ำในบริเวณวังมะขามแฟบที่กำลังไหลเชียวกรากเริ่มหยุดนิ่งอยู่กับที่ จากนั้นก็ค่อย ๆ มีพรายน้ำผุดขึ้นมา ที่ละน้อย ๆ กระทั้งกลายเป็นวังน้ำวนขนาดใหญ่ค่อยๆ ดูเอาองค์พระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยขึ้นมาเหนือน้ำและมีลักษณะอาการดำพุดดำว่ายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ชาวประมงกลุ่มนี้ต้องลงไปอัญเชิญ ขึ้นมาประดิษฐานไว้บนบกเพื่อกราบไหว้สักการบูชาพร้อมร่วมกันถวายนาม ว่า พระพุทธหาธรรมราชา เวลาผ่านไปได้มีชาวประมงได้พบกับพระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์ นี้อีกครั้ง จึงนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ ในปีถักมาพอถึง วันขึ้น 15 ค้ำ เดือน 10 ปรากฏว่าพบพระพุทธมหาธรรมราชาได้หายไปจากวัดไตรภูมิ และพบพระพุทธมหาธรรมราชากลางแม่น้ำป่าสักวังมะขามแฟบ สถานที่ชาวประมงพบพระรูปนี้ครั่งแรกดำพุดดำว่ายจากนั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ     เดือน10   ของทุกปี จึงมีการแห่พระพุทธมหาธรรมราชาไปรอบเมืองจนถึงบริเวณหน้าวัดไตรภูมิ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นผู้อุ้ม พระพุทธมหาธรรมราชาลงดำน้ำ ทั้ง 4 ทิศ ซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ชาวจังหวัด จนเป็นประเพณีอุ้มพระดำน้ำของจังหวัดเพชรบูรณ์  จนถึงทุกวันนี้
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำยังสะท้อนให้เห็นความร่วมมือเป็นหนึ่งใจเดียวกันชาวเพชรบูรณ์ที่ต้องการสืบสารมรดกทางวัฒนธรรม อันนี้ไว้ เพราะไม่สามารถพบเห็นได้ที่ไหนอีกแล้ว เพื่อให้ทรงคุณค่าอย่างนี้ตลอดกาล สิ่งนี้เป็นอักหนึ่งความภาคภูมิใจของฉัน และเป็นสิ่งในความภูมิใจของชาวเพชรบูรณ์และคนไทยทุกคน

นางสาว กฤติญา เพ็งตา คณะพยาบาลศาสตร์ 5305110002