วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การศึกษาดูงานที่ห้องสมุด

จากการที่ข้าพเจ้าได้ไปดูงานและศึกษาห้องสมุดอื่นๆ ข้าพเจ้าได้ไปศึกษาห้องสมุดของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชได้มีเหตุผลคือ เป็นแหล่งที่มีข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าที่มีข้อมูลมากมาย และมีการจัดแบ่งเป็นเรื่อง ๆ ทำให้ค้นหาง่าย สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ที่โรงพยาบาลเค้าจะมีบรรณารักษ์ ช่วยในการให้คำแนะนำในการใช้ห้องสมุด ว่าหนังสืออะไรอยู่ตรงไหน
เวลาที่เปิดบริการ
วันจันทร์- ศุกร์ เวลา 8.30-20.00
วันเสาร์ เวลา 8.30-16.30
ปิดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ระเบียบการยืม คืน
           1. สมาชิกจะต้องนำบัตรห้องสมุดมาทุกครั้ง เมื่อยืม คืนหนังสือ
           2. การยืมหนังสือและวารสารยืมได้ครั้งละ5เล่ม: 7 วัน
           3. งดใช้บัตรของผู้อื่นยืมหนังสือ มิฉะนั้นเจ้าของบัตรจะถูกตัดสิทธ์การยืน
           4. กรณีที่มีหนังสิค้างส่งเกินกำหนดของเดือนที่ผ่านมาจะไม่มีสิทธิ์ยืมหนังสือใหม่จนกว่าจะคืนหนังสือเก่า ให้เรียบร้อยก่อน
            5. ถ้าส่งหนังสือเกินกำหนด จะถูกปรับ 5บาท : เล่ม :วัน เกินกว่า 30 วัน ปรับเป็น 2 เท่า ถ้าเกิน 60 วัน ปรับ 3 เท่าถ้าเกิน 90วัน งดยืม2 ปี
            6. ผู้ที่ทำหนังสือชำรุดหรือสูญหายจะต้องหาหนังสือมาชดใช้ถ้าไม่สามารถได้จะต้องชดใช้เป็น 2 เท่า ของราคาของหนังสือ
            7. กรณีทำบาร์โค้ดหนังสือ ต้องชำระค่าธรรมเนียม 30 บาท

                                                  นางสาวกรวิภา   โทเรธรรม   รหัสนิสิต 5305110001  คณะพยาบาลศาสตร์  ชั้นปีที่ 2  




พัฒนาการของวัยเด็กตอนต้น

ความหมายของวัยเด็กตอนต้น
หมายถึง   วัยเด็กตอนต้น (early childhood)   หรือวัยก่อนเรียน (pre-school age)   เป็นวัยที่มีอายุอยู่ในช่วง 2-6 ปี   วัยนี้พัฒนามาจากวัยทารก   เด็กเริ่มรู้จักบุคคล   สิ่งแวดล้อม   สิ่งของ   สามารถใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ   ของร่างกายได้หลากหลาย   เริ่มเข้าใจลักษณะการสื่อสาร   และสามารถใช้ภาษาได้มากขึ้น   จากสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่  และการมีความสามารถดังกล่าวกระตุ้นให้เด็กต้องการแสดงความสามารถที่มีอยู่วัยนี้จึงมีลักษณะเด่นคือชอบแสดงความสามารถ   ชอบอาสาช่วยเหลือ   ช่างประจบ   ซุกซน   อยากรู้อยากเห็น   ช่างถาม   มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   ชอบปฏิเสธ   ค่อนข้างดื้อ   ต้องการมีอิสระ   เป็นตัวของตัวเอง   เริ่มรู้จักพึ่งพาตนเอง   และไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่   โดยเฉพาะในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน   การทำกิจกรรม   การเรียนรู้เหตุผล   สิ่งใดผิดถูก   การเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง   นอกจากนี้เด็กจะแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนจากการพูดคุย   การแสดงออก   ความเฉลียวฉลาด   ซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์ของเด็กแต่ละคนด้วย   ดังนั้นจึงพบว่าเด็กวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพและมีพัฒนาการด้านจริยธรรมอย่างชัดเจน
                การพัฒนาการส่วนใหญ่ของเด็กวัยนี้   ขึ้นอยู่กับเรื่องการปรับตัวให้คุ้นกับสิ่งแวดล้อม   และเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม   เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับจะอยู่ในสังคมที่กว้างขึ้นในวัยต่อไป   เด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งที่อยู่รอบตัวว่ามีอะไรบ้าง   รู้สึกอย่างไรเมื่อสัมผัสและต้องการมีสวนเกี่ยวข้องด้วย   เด็กวัยนี้จึงมักจะชอบถามจนเรียกได้ว่าเป็นวัยชอบถาม   มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   มีจินตนาการ
(  http://byyying.web.officelive.com/Development3.aspx วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ 2554  เวลา  21 :52 )

การได้รับวัคซีนในวัยเด็กตอนต้น

กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศกำหนดการให้วัคซีนแกเด็กปกติตั้งแต่แรกเกิดเป็นต้น

อายุ
วัคซีนที่ให้
ข้อแนะนำ

2 -  21/2 ปี

JE3


                เป็นการฉีดกระตุ้น
               ใช้เฉพาะในท้องถิ่นที่มีโรคนี้ชุกชุม
               ( ตามแผนปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุข )



4 – 6  ปี

DTP5  ,  OPV5
               ถ้าอายุเกิน  6  ปี  ให้ dT   แทน   DT และควรฉีด dT ซ้ำ ทุก  10  ปี  ( หากมีบาดแผลที่เสี่ยงต่อบาดทะยัก  ควรฉีด dT ซ้ำหากเคยฉีดมาเกิน  5  ปี )

BCG

1.                ให้กรณีที่ไม่มีแผลเป็นจากการฉีด   ครั้งก่อน
2.               เด็กที่มีอาการของโรคเอดส์ไม่ให้

MMR2

ถ้าไม่มีวัคซีน   ให้ใช้วัคซีนหัด   และหัดเยอรมันแยกกัน

( พรทิพย์   ศิริบูรณ์พิพัฒนา.การพยาบาลเด็ก เล่ม 1.กรุงเทพมหานคร : ยุทธรินทร์ การพิมพ์.  พิมพ์ครั้งที่  7  2552 ) , ( สมจิตร์  จารุรัตนศิริกุล ,มาลัย  ว่องชาญชัยเลิศ.กุมารเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก : ชานเมืองการพิมพ์.พิมพ์ครั้งที่ 2  2549 )

วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ  JE3  ( Japanese   Encephalitis   virus  Vaccine :  JE – VAX )
JE – VAX   ใช้ฉีดเพื่อป้องกันโรคไข้สมองอักเสบ   ซึ่งเกิดจาชื่อไวรัสชนิดหนึ่งที่มียุงเป็นพาหะของโรคเป็นวัคซีนเชื้อตาย   ในปัจจุบันผลิตเป็น  2  รูปแบบ   คือ
1.               วัคซีนชนิดน้ำ
2.               วัคซีนชนิดผงแห้ง
ปฏิกิริยาจาการฉีดวัคซีน   อาจมีอาการปวด   บวม   คัน   หรือเจ็บบริเวณที่ฉีด   อาจมีไข้ต่ำ     หรือปวดศีรษะ   และวักซึ่งพบน้อย
ข้อควรระวัง   ไม่ควรให้วัคซีนในกรณีต่อไปนี้
1.               มีไข้สูง
2.               มีประวัติการแพ้วัคซีนชนิดนี้
3.               หญิงตั้งครรภ์

วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ   บาดทะยัก   ไอกรน ( Diphtheria ,  Tetanus   Toxoids   and   Pertussive   vaccine   combined   :   DTP )
DTP   เป็นวัคซีนชนิด   killed   ( inactivated )   มี   purified   diphtheria   toxoid   purified   tetanus   toxoid     และ    inactivated   pertussive   vaccine
ปฏิกิริยาหลังให้วัคซีนและข้อควรระวัง
                       1.   เด็กที่ได้รับวัคซีนนี้อาจมีไข้สูง   และร้องรบกวนได้   ควรเช็ดตัวและให้ยาลดไข้ร่วมด้วยในรายที่มีประวัติชักจากไข้สูง   นอกจากนี้บางรายอาจมีอาการปวด   บวม   แดงร้อน   ซึ่งจะหายได้เอง
                       2.   วัคซีน   DTP   นี้   ไม่ควรให้ในเด็กอายุ   6   ปีขึ้นไป   เพราะอาจมีปฏิกิริยาแทรกซ้อน   รุนแรงได้จากวัคซีนป้องกันโรคไอกรน
                       3.   ไม่ควรให้ในเด็กที่เป็นโรคลมชัก   หรือโรคทางสมอง
                       4.   ไม่ควรให้ร่วมกับวัคซีนป้องกันอหิวาต์   ไทฟอยด์   กาฬโรค   และไม่ควรให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ภายใน   3    วัน   หลังให้วัคซีนนี้
                       5.   ไม่ควรฉีดให้เด็กในระยะที่มีโรคโปลิโอระบาด
                       6.   ไม่ควรฉีดให้เด็กที่กำลังป่วยด้วยโรคอื่น     หรือกำลังมีไข้สูง

วัคซีนป้องกันโปลิโอ ( Poliomyelitis   Vaccine )
                วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอที่ใช้แพร่หลายในปัจจุบันมี   2   ชนิด   คือ
1.               ชนิดรับประทาน    attenuated   live   oral   poliomyelitis   vaccine   ( OPV )
2.               ชนิดฉีด   Inactivated   poliomyelitis   vaccine   ( IPV )
OPV   เป็นวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อไวรัสโปลิที่ยังมีชีวิตอยู่   แต่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงแล้วไม่ก่อให้เกิดโรค   ชนิดกินทำให้เกิดภูมคุ้มกันได้เร็วและอยู่ได้นาน   รวมทั้งก่อให้เกิดภูมคุมกันเฉพาะที่ต่อเชื่อไวรัสโปลิโอที่เยื่อบุของลำไส้   ซึ่งจะช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค

วัคซีนป้องกันโรค   ( BCG   Vaccine )
BCG   เป็นวัคซีนป้องกันวัณโรค   ชนิดเชื้อมีชีวิต   ( live   vaccine )   แต่หมดฤทธิ์ในการทำให้เกิดโรค   ( attenuated   strain )    ใน   1   มล.   ประกอบด้วยเชื้อ BCG2 – 10   ล้านตัว   ตามมาตรฐานขององค์กรการอนามัยโลก
ปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีน   หลังจากฉีดบริเวณที่ฉีดจะเกิดตุ่มสีขาวซีดอยู่ชั่วขณะหนึ่ง   ขนาดประมาณ   7  -  8  มม.หลังจากนั้นจะเป็นรอยสีแดง   หลังจากฉีดประมาณ   2 – 3  สัปดาห์   หรื   1   เดือน   บริเวณฉีดจะเห็นเป็นตุ่มสีแดง   ต่อมาจะมีน้ำขุ่นคล้ายหนองออกมาเป็นครั้งคราวอยู่   1  -  2   เดือน   แล้วจึงหายกลายเป็นแผลเป็นเล็ก ๆ   ไม่ควรบ่งหนอง   และไม่จำเป็นต้องใส่ยา   หรือปิดแผล   ให้ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกเช็ดก็เพียงพอแล้ว

วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด   คางทูม   หัดเยอรมัน  ( Measles   Mumps   and   Rubella   Vaccine -  Live  ; MMR ) 
MMR   เป็นวัคซีนรวม   3   ชนิด   ประกอบด้วยวัคซีนไวรัสโรคหัดที่ได้จากไวรัสหัดอ่อนฤทธิ์   วัคซีนไวรัสโรคคางทูมมีชีวิตที่อ่อนฤทธิ์   และวัคซีนไวรัสโรค   rubella   มีชีวิตอ่อนฤทธิ์
ปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีน   ปวด   บวมบริเวณที่ฉีด   มีไข้   ผื่นขึ้นตามตัว   อาจมีอาการคล้ายแพ้ยา   หายใจลำบาก
ข้อควรระวัง  
1.               ไม่ควรให้วัคซีนนี้แก่หญิงตั้งครรภ์
2.               ห้ามให้กับเด็กที่ป่วยเป็นวัณโรค
3.               เด็กเป็นไข้เลื่อนการฉีดไปจนกว่าไข้จะลดลง   แต่ถ้าเป็นหวัดไม่มีไข้ให้ฉีดได้
4.               ไม่ฉีดยาให้แก่เด็กที่มีประวัติแพ้   neomycin
5.               ผู้ที่มีความผิดปกติในภูมิคุ้มกันของร่างกาย   หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันไม่ควรรับวัคซีนนี้   ยกเว้นผู้ป่วยติดเชื้อ   HIV  
( พรทิพย์   ศิริบูรณ์พิพัฒนา.การพยาบาลเด็ก เล่ม 1.กรุงเทพมหานคร : ยุทธรินทร์ การพิมพ์.  พิมพ์ครั้งที่  7 2552 )

พัฒนาการด้าน
พัฒนาการทางด้านร่างกาย
                พัฒนาการทางกายของเด็กวัยนี้จะเป็นไปอย่างช้า ๆ   เมื่อเปรียบเทียบกับวัยทารก   การเจริญเติบโตจะเป็นไปในลักษณะเพื่อให้อวัยวะต่าง ๆ   สามารถทำงานได้เต็มที่ตามหน้าที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราการเจริญเติบโตทางด้านน้ำหนัก   และส่วนสูง    การเพิ่มของน้ำหนักเกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูก   และกล้ามเนื้อ    ซึ่งต่างจากวัยทารกที่การเพิ่มน้ำหนักเกิดจากเนื้อเยื่อไขมัน   ประกอบกับเด็กวัยนี้จะรับประทานอาหารได้น้อย และเลือกรับประทานอาหารเฉพาะที่ชอบเท่านั้น
               ลักษณะร่างกายและสัดส่วนของวัยนี้จะเปลี่ยนแปลงจากลักษณะทารกอย่างชัดเจน กล่าวคือ ช่องท้องบางลง หน้าอกและไหล่กว้างและใหญ่ขึ้น แขนขายาวออกไป ศีรษะได้ขนาดกับลำตัว มือและเท้าใหญ่ขึ้น โครงกระดูกแข็งขึ้น กล้ามเนื้อเติบโตแข็งแรงขึ้น มีการเพิ่มความสูงอย่างสม่ำเสมอ 3 นิ้วต่อปี และน้ำหนักเพิ่มสม่ำเสมอปีละ 1.5-2 กิโลกรัม และในช่วงปลายของวัยนี้จะมีฟันแท้ขึ้น 1-2 ซี่
เด็กวัยนี้เริ่มมีทักษะการเคลื่อนไหวและสามารถใช้อวัยวะส่วนต่าง     ของร่างกายได้ดีขึ้น   ระบบกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น    ดังนั้นเด็กจะชอบช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน   เช่น   การป้อนข้าวเอง   แต่งตัว   ใส่รองเท้า   อาบน้ำ   หวีผม   เขียนหนังสือ   การหยิบจับต่าง ๆ   ชอบเล่นกับกลุ่มเพื่อน ๆ   สามารถเดิน   วิ่ง   กระโดด   ห้อยโหน  อย่างคล่องแคล่ว    และไม่รู้จักเหนื่อย    เพราะการได้เล่นกับเพื่อนจะช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่น ไม่ถูกทอดทิ้ง
                ( http://eu.lib.kmutt.ac.th/elearning/Courseware/SSC231/Psychology/Chapter2/Ch2.pdf    วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554  เวลา  23 :29  )

พัฒนาการทางด้านอารมณ์
                อารมณ์มีบทบาดสำคัญต่อชีวิตของเด็กทุกคน   วัยเด็กนี้จะมีพัฒนาการการแสดงออกด้านอารมณ์ที่ชัดเจน   เปิดเผย   อิสระ   ทั้งอารมณ์พึงพอใจและไม่พึงพอใจ   มักจะเป็นคนเจ้าอารมณ์   เอาแต่ใจตัวเอง   ดื้อรั้น   หงุดหงิด   โมโหร้าย   ชอบปฏิเสธ   อารมณ์ในทางลบที่เด็กแสดงออกจะค่อย ๆ   ลดลงเมื่อเด็กต้องเข้าสังคมในกลุ่มเพื่อน    อย่างไรก็ตาม เด็กวัยนี้สามารถสร้างความรัก   และความผูกพันกับบุคคลอื่นๆ ได้ เช่น   เพื่อนสนิท   ผู้เลี้ยงดู   เพื่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยทางอารมณ์   สำหรับลักษณะอารมณ์เด่น ๆ   ที่มักเกิดขึ้นในเด็กวัยนี้  คือ
1.   อารมณ์โกรธ   เด็กวัยนี้จะโกรธง่ายจากการต้องการเป็นตัวของตัวเอง   บางครั้งอาจโกรธตัวเองหรือโกรธบุคคลที่เกี่ยวข้อง    อารมณ์โกรธเกิดเมื่อเด็กไม่ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ   แสดงออกโดยการร้องไห้ดิ้นกับพื้นเสียงดัง   ทิ้งตัวลงนอน   กรี๊ด   ทุบตีสิ่งของต่าง ๆ   ทำร้ายตัวเอง   เป็นต้น
2.   อารมณ์รัก   เด็กวัยนี้จะรักบุคคลที่ให้การตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ    แสดงอารมณ์รักอย่างเปิดเผย   เช่น   การกอดจูบบุคคลหรือสิ่งของที่รัก
3.   อารมณ์กลัว   อารมณ์กลัวเกิดจากการได้พบสิ่งแปลกใหม่   หรือกลัวในสิ่งที่จินตนาการไปเอง เช่น   กลัวความมืด   กลัวผี   และมักเลียนแบบความกลัวจากผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดจะแสดงออกโดยการหลบซ่อน วิ่งหนี   วิ่งเข้าหาผู้ใหญ่   และจะค่อยลดลงหากได้รับการอธิบายและให้เด็กเกิดความรู้สึกคุ้นเคยกับสิ่งนั้น ๆ
4.   อารมณ์อยากรู้อยากเห็น   วัยนี้จะเป็นวัยช่างซักถาม    เด็กจะสงสัยทุกเรื่องและถามได้ตลอดเวลา ไม่สิ้นสุด   จะตั้งคำถามมากจนตอบไม่หมด    หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองที่ถูกต้องจะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นลดลงน้อยกว่าเด็กวัยเดียวกัน
5.   อารมณ์อิจฉาริษยา   มักจะเกิดขึ้นเมื่อรู้สึกว่าตนด้อยกว่าผู้อื่น   หรือกำลังสูญเสียความสนใจที่ตนเคยได้รับถูกแบ่งปันให้บุคคลอื่น   เช่น   การมีน้องใหม่   อิจฉาพี่น้องคนอื่น   มักแสดงออกคล้ายกับอารมณ์โกรธ   หรืออาจแสดงภาวะถดถอยกลับไปสู่ความเป็นทารกอีกครั้ง   เช่น   ปัสสาวะรดที่นอนบ่อย การดูดมือ   ดื้อดึง   ร้องไห้ง่าย   งอแง   เป็นต้น
6.   อารมณ์ร่าเริง   ดีใจหรือสนุกสนาน   อารมณ์ดังกล่าว   เกิดขึ้นเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองตามที่ตนต้องการทันเวลา   สม่ำเสมอ   หรือประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมต่าง ๆ   แสดงออกด้วยการหัวเราะ   ส่งเสียงดัง   ยิ้ม   ปรบมือ   กระโดดโลดเต้น   เป็นต้น
พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กวัยนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการเลี้ยงดูของพ่อแม่   และมีความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้สึกมั่นคงของเด็กต่อไป   และความรู้สึกที่มั่นคงทางอารมณ์จะช่วยพัฒนาให้เด็กมีการพัฒนาความเจริญงอกงามด้านจิตใจ   และสามารถเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ ๆ   ด้วยความเต็มใจและมั่นใจยิ่งขึ้น
( http://byyying.web.officelive.com/Development3.aspx   วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554  เวลา 22.34 )

 พัฒนาการทางด้านสังคม
                พัฒนาการทางสังคมของวัยเด็กตอนต้นจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว   ชัดเจน   เด็กจะชอบการเข้าสังคม การพบปะพูดคุยกับผู้คน   การมีเพื่อน   การเล่นรวมกลุ่มกับเพื่อนทั้งเพศเดียวกัน   และต่างเพศ   เด็กจะมีความคิด   และการเล่นที่อิสระ   ไม่ชอบกฎเกณฑ์   ดังนั้นจึงไม่สามารถรักษากฎเกณฑ์ของกลุ่มเพื่อนได้นาน   จะเป็นลักษณะต่างคนต่างเล่น   แต่จะเล่นอยู่ในบริเวณเดียวกัน   ต่อมาถึงจะพัฒนาการเล่นที่มีลักษณะคล้าย ๆ  กัน   โดยสามารถเล่นรวมกลุ่มกับเพื่อนได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ    ชอบเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อนบ่อยขึ้น เป็นสมาชิกในกลุ่มเพื่อนได้   โดยพยายามปรับตัวให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มซึ่งอาจแสดงออกโดยการแบ่งปันสิ่งของให้กับผู้อื่น   ให้ความร่วมมือ   ยอมรับฟัง   แสดงออกถึงความเป็นผู้นำ   ชอบเล่นบทบาทสมมติ   เป็นพ่อ-แม่   คุณครูนักเรียน   ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างเพศ   พยายามช่วยเหลือตนเอง  และช่วยเหลืองานบ้าน   เช่น   ซักผ้า   เก็บของ   ล้างจาน   ปิด - เปิดไฟ   พัดลม   โทรทัศน์ได้จากการสังเกตผู้ใหญ่  และลองกระทำเอง    นอกจากนี้เด็กวัยนี้จะเรียนรู้การเข้าสังคมในกลุ่มที่มีอายุต่าง ๆ  กัน   รู้จักปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทั้งวัยเดียวกัน   และวัยต่างกัน    เรียนรู้มารยาทการไหว้ทักทาย   การพูดคุย    เด็กจะพยายามเรียนรู้ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม   ตลอดจนเรียนรู้ที่จะระมัดระวังคนแปลกหน้า   อย่างไรก็ตาม การปรับตัวของเด็กจะเป็นไปได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับประสบการณ์การเลี้ยงดูที่เด็กได้รับจากครอบครัว   เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีอิสระจะมีความเชื่อมั่นในตนเองมากกว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงแบบเข้มงวดตลอดเวลา นอกจากนี้สัมพันธภาพในครอบครัวถือเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน  เด็กที่เติบโตมาจากครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจะมีความรู้สึกกล้าและมั่นใจในการเข้าสังคมนอกบ้านมากกว่าเด็กที่เติบโตจากครอบครัวที่มีปัญหาด้านสัมพันธภาพ

พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
วัยนี้เป็นวัยที่ชอบแก้ปัญหาตามความคิดและวิธีการของตนเอง ชอบอิสระ แสวงหาวิธีการต่าง ๆ จากการทดลองปฏิบัติผิดถูก การซักถาม การเปรียบเทียบ การคิด การเจริญงอกงามทางสติปัญญาสามารถสังเกตได้จากลักษณะพฤติกรรมการแสดงออกทางการเล่น การสามารถจำสิ่งของหรือบุคคลต่าง ๆ อย่างถูกต้อง สามารถบอกความเหมือน ความต่าง มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงออก การนำเอาสิ่งที่มีอยู่มาสัมพันธ์กัน ประกอบกับเด็กวัยนี้สามารถใช้ภาษาได้ดีขึ้น เข้าใจภาษา ความหมายของคำใหม่ ๆ อ่านและเขียนได้ดีขึ้น การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เหมาะสมจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่จะช่วยให้เด็กมีวิธีคิด การเรียนรู้ที่เหมาะสม และก่อให้เกิดทางเลือกและวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยพัฒนาต่อพัฒนาการในวัยต่อไป
(  http://www.thailocaladmin.go.th/work/e_book/eb6/eb6_3/3km7.pdf   วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554  เวลา 22.34 )

การส่งเสริมพัฒนาการ
การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย
กิจกรรมที่ควรส่งเสริมและสนับสนุนด้านร่างการเพื่อให้เด็กได้มีโอการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ (  กล้ามเนื้อแขน - ขา - ลำตัว  )  กล้ามเนื้อเล็ก ( กล้ามเนื้อมือ - นิ้วมือ ) และการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาท (กล้ามเนื้อมือ - ประสาทตา ) ในการทำกิจวัตรประจำวันหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ   เช่น การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายต่างจังหวะดนตรี การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส  การเล่นออกกำลังกายกลางแจ้ง เป็นต้น ประสบการณ์ที่ควรส่งเสริม ประกอบด้วยการเคลื่อนไหวและการทรงตัวการประสาน
 กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ 
                เพื่อให้เด็กพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ   การเคลื่อนไหวและความคล่องแคล่วในการใช้อวัยวะต่าง     จึงแนะนำให้จัดกิจกรรมให้เด็กดังนี้
1.  เล่นกิจกรรมกลางแจ้ง   เป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลาย   มุ่งพัฒนาด้านกล้ามเนื้อใหญ่   ในขณะเดียวกันเป็นการฝึกให้เด็กได้คิดตัดสินใจเลือกโดยอิสระด้วยตนเอง   เด็กเป็นผู้เลือกที่จะเล่น   ทั้งวิธีการเล่น   วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้   สถานที่ที่จะเล่น   รวมถึงเวลาที่จะเล่น
2. การเล่นเครื่องสนาม   เป็นกิจกรรมการเล่นเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง   มีโอกาสปฏิบัติและกระทำกับอุปกรณ์เครื่องเล่นสนามได้อย่างอิสระ   เป็นโอกาสที่เด็กจะได้ใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการทรงตัว   การโหน   การโยกไหว   การปีนขึ้นและไต่ลง   ควรมีการแนะนำวิธีการเล่นที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ
3.การเคลื่อนไหวร่างการตามจังหวะดนตรี   เป็นกิจกรรมที่เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง    ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ   ด้วยเสียงเพลง   คำคล่องจอง   เครื่องเคาะจังหวะ   และอุปกรณ์อื่น     มาประกอบการเคลื่อนไหว
กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
เพื่อให้เด็กพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็ก   การประสานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา   จึงแนะนำให้จัดกิจกรรมให้เด็กดังนี้
1.การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส เป็นการที่เด็กใช้ประสาทสัมผัส คือ  ตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส เพื่อรับรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของที่เป็นเครื่องเล่นชนิดต่าง   
2.การฝึกช่วยเหลือตนเองในการแต่งกาย คือ ฝึกให้เด็กรู้จักหน้าที่การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เกี่ยวกับการสวม - ถอดเสื้อผ้า  การทาแป้ง  การหวีผม การถอด - ใส่ถุงเท้า รองเท้าด้วยตัวเอง การรู้จักเลือกแต่งการที่เหมาะสมกับสถานที่ โอกาส และฤดูกาล โดยครูที่ดูแลเด็กเปิดโอกาสให้เด็กเลือกเสื้อ กางเกง   กระโปรง   รองเท้า ถุงเท้า จากนั้นให้เด็กแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่เด็กเลือก
3.การหยิบจับช้อน - ส้อม การจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้มีโอกาสหยิบจับช้อน - ส้อม ประกอบด้วย   สถานที่บริเวณที่เด็กใช้รับประทานอาหาร ภาชนะ โต๊ะสำหรับเด็กนั่งรับประทานอาหาร
 (  http://www.thailocaladmin.go.th/work/e_book/eb6/eb6_3/3km7.pdf   วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554  เวลา 22.34 )

การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์
เป็นการสนับสนุนให้เด็กแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกที่เหมาะสมกับวัย   มีความสุข   ร่าเริง   แจ่มใส   ได้พัฒนาความรู้สึกต่อตนเอง   และความเชื่อมันในตนเองจากการปฏิบัติกิจกรรมต่าง     ในชีวิตประจำวัน   เช่น   เล่น   ฟังนิทาน   ท่องคำคล่องจอง   ร้องเพลง   เป็นต้น
                ประสบการณ์ที่ควรส่งเสริม   ประกอบด้วย   การรับรู้อารมณ์หรือความรู้สึกของตนเอง   การแสดงอารมณ์ที่เป็นสุข   การควบคุมอารมณ์และการแสดงออก   พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้เด็กรู้สึกเป็นที่รัก   อบอุ่น   มั่นคน   เกิดความรู้สึกปลอดภัย   ไว้วางใจ   ซึ่งจะส่งผลให้เด็กสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น
                กิจกรรมที่ควรส่งเสริมและสนับสนุนด้านร่างการเพื่อให้เด็กได้มีโอการพัฒนาการด้านอารมณ์ดังนี้
1.                 การจัดกิจกรรมที่ให้เด็กมีโอกาสตัดสินใจเลือก   เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นและกระทำกิจกรรมทั้งเดี่ยวและกลุ่ม   มีอิสระเลือกตามความพอใจและความสนใจของเด็ก
2.               จัดกิจกรรมให้เด็กได้ตอบสนองความต้องการ   เป็นวิธีการสร้างความภาคภูมิใจ   สร้างความสุขในการเรียนรู้   ซึ่งจะทำให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น    มีความเชื่อมั่นละกล้าแสดงออก   ส่งผลให้เกิดนิสัยใฝ่เรียนใฝ่รู้   โดยครูผู้ดุแลเด็กต้องสร้างความไว้วางใจให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและเป็นมิตรเพื่อให้ตอบสนองกิจกรรมที่กำหนดขึ้น
3.               การฝึกปฏิบัติโดยสอดแทรกคุณธรรม   จริยธรรม   คือ   การที่ครูผู้ดูแลเด็กจัดกิจวัตรประจำวัน   ให้เด็กมีโอกาสพัฒนาคุณธรรม   จริยธรรม   อย่างต่อเนื่อง   ได้แก่   การรู้จักช่วยเหลือ   แบ่งปัน   มีความเมตตา   การมีวินัย   การรู้จักอดทน   และมีความรับผิดชอบ   ที่เหมาะสมกับวัย   และสอดคล้องต่อวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
(  http://www.thailocaladmin.go.th/work/e_book/eb6/eb6_3/3km7.pdf     วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554  เวลา 22.34 )

การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคม
                เป็นการสนับสนุนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่าง    รอบตัวในชีวิตประจำวัน   ได้ปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ  เช่น   เล่นอย่างมีอิสระ   เล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่น     แบ่งปันหรือการให้   รู้จักการรอคอย   ใช้ภาษาบอกความต้องการ   ช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน
                ประสบการณ์ที่ควรส่งเสริม   ประกอบด้วย   การช่วยเหลือตนเอง   การปรับตัวอยู่ในสังคม   เด็กควรมีโอกาสได้เล่นร่วมกลุ่มหรือทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยเดียวกันหรือต่างวัย   เพศเดียวกันหรือต่างเพศหรือผู้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ   ตลอดจนฝึกให้ช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันตามวัยที่เด็กสามารถทำได้
ควรส่งเสริมและสนับสนุนด้านร่างการเพื่อให้เด็กได้มีโอการพัฒนาการด้านสังคม   ดังนี้
1.                 การรับประทานอาหาร   ควรจัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อปลูกผังให้เด็กรู้จักคุณค่าของอาหาร   รวมถึงการมีมารยาทในการรับประทานอาหาร
2.               การผักผ่อนนอนหลับ   คือ   การนั่ง   การนอน   การหลับตา   การฟังเพลงเบา ๆ   การหลับตา   ตลอดจนกิจกรรมผ่อยคลายหลังกิจกรรมการออกกำลังกาย   การละเล่นที่ใช้กำลังมาก     เป็นกิจกรรมที่อาศัยอิริยาบถที่สบาย
3.               การทำความสะอาดร่างกาย   หมายถึง   การล้างหน้า  การ แปรงฟัน   การอาบน้ำ   การตัดเล็บ   การล้างมือ   และอื่น ๆ   ผู้ดูแลเด็กควรอธิบายให้เด็กเข้าใจถึงการทำความสะอาดอย่างเป็นขั้นตอน
4.               การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น   การเล่นเป็นประสบการณ์การสำคัญสำหรับการเรียนรู้ในวัยเด็กตอนต้น   ทั้งในทางตรงและทางอ้อม   และก็เป็นการพัฒนาสติปัญญาจากการซึมซับความรู้และพฤติกรรมต่าง     จากการเล่น
5.               การปฏิบัติตามกฎ   กติกา   ข้อตกลง   หมายถึง   การฝึกให้เด็กแสดงออกอย่างเสรี   แต่อยู่ภายใต้ขอบเขตในวินัยของตนเองเป็นสำคัญ   เพื่อให้เด็กสะท้อนความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อการประพฤติปฏิบัติของตนเอง   เป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดี
(  http://www.thailocaladmin.go.th/work/e_book/eb6/eb6_3/3km7.pdf    วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554  เวลา 22.34 )

การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
                เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้สิ่งต่าง     รอบตัวในชีวิตประจำวันผ่านประสารทสัมผัสทั้ง   5   และการเคลื่อนไหว   ได้พัฒนาการใช้ภาษาสื่อความหมายและความคิด   รู้จักสังเกตคุณลักษณะไม่ว่าจะเป็น   สี   ขนาด   รูปร่าง   รูปทรง   ผิวสัมผัส   จดจำชื่อเรียกสิ่ง     รอบตัว   มีการฝึกใช้อวัยวะรับสัมผัสต่าง     ได้แก่   ตา   หู   จมูก   ลิ้น   และผิวหนังในการแยกแยะสิ่งที่รับรู้   และเรียนรู้เกี่ยวกับความเหมือน   ความแตกต่างและมิติสัมพันธ์  
(   http://www.thailocaladmin.go.th/work/e_book/eb6/eb6_3/3km7.pdf    วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554  เวลา 22.34 )

บทสรุป
วัยเด็กตอนต้นเป็นวัยที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาการที่จะนำไปสู่วัยอื่น ๆ   เป็นวัยที่มีการพัฒนาการและเปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ  ทางที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านร่างกาย   ทางด้านอารมณ์   ทางด้านสังคม   และทางด้านสติปัญญา   ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากและจะควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน   เด็กในวัยนี้จะเป็นวัยที่ชอบช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น   ผู้ปกครองและผู้ดูแลควรให้อิสระแก่เด็กในการทำกิจกรรมช่วยเหลือตนเองบ้าง   เช่น   แต่งตัวเอง   ใส่ – ถอดรองเท้าเอง   ทานอาหารเองเป็นต้น   และเด็กในวัยนี้ชอบเป็นวัยที่ชอบพูด   เด็กจะเข้าไปพูดกับบุคคลอื่น ๆไม่ว่าจะเป็นคนรู้จักหรือคนแปลกหน้าก็ตาม  และเด็กในวัยนี้ยังเป็นวัยที่ชอบเข้าสังคมกับเพื่อนทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ
    วัยเด็กตอนต้นเป็นวัยที่มีบุคลิกภาพที่จะเด่นชัดที่สุด  คือ   เด็กในวัยนี้จะมีความต้องการเป็นส่วนตัวสูง   เด็กในวัยนี้จะเริมเรียนรู้ในการมีเหตุผล  - ใช้เหตุผล     และความรู้ในการคิดทางด้านคุณธรรม   จริยธรรม   ดังนั้นการดูแลเลี้ยงดูที่ถูกต้องและเหมาะสำหรับเด็กวัยนี้จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ  ดีขึ้น   และถูกตองเหมาะสมต่อไป   เพื่อให้พัฒนาการของเด็กในวัยอื่น ๆ  มีความเหมาะสมด้วยเช่นกัน

อ้างอิง
1.นิตยา   คชภักดี. ตำรากุมารเวชศาสตร์ เล่ม  3 . กรุงเทพมหานคร : โฮลิสติก  พับลิชชิ่ง , 2549   หน้าที่  1
2.http://byyying.web.officelive.com/Development3.aspx   วันอังคารที่ 23 สิงหาคม  พ.ศ 2554  เวลา  21 :52
3.พรทิพย์   ศิริบูรณ์พิพัฒนา.การพยาบาลเด็ก เล่ม 1.กรุงเทพมหานคร : ยุทธรินทร์ การพิมพ์. พิมพ์ครั้งที่  7   2552.  หน้า 74                                                                                                     
4.สมจิตร์  จารุรัตนศิริกุล ,มาลัย  ว่องชาญชัยเลิศ.กุมารเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก : ชานเมืองการพิมพ์.พิมพ์ครั้งที่ 2  2549 .  หน้า  45                                                                                           
5.http://eu.lib.kmutt.ac.th/elearning/Courseware/SSC231/Psychology/Chapter2/Ch2.pdf    วันอังคารที่
13 กันยายน พ.ศ. 2554  เวลา  23 :29
8.http://www.thailocaladmin.go.th/work/e_book/eb6/eb6_3/3km7.pdf    วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554  เวลา 22.34

นางสาวกรวิภา   โทเรธรรม   รหัสนิสิต 5305110001 คณะพยาบาลศาสตร์  ชั้นปีที่ 2