วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ


ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ เป็นงานประเพณีเก่าแก่ของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประเพณี ที่แปลกไม่มีปรากฏในที่อื่น ๆ เมื่อก่อนมีการเรียกชื่อแตกต่างกันไป จนกระทั้งเดือน ตุลาคม พ.2528 ทา คณะกรรมการการจัดงานได้ร่วมประชุมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดงานเป็นทางการ และมีมติให้ใช้ชื่องานว่างาน   ประเพณี อุ้มพระดำน้ำ ซึ่งชาวเพชรบูรณ์มีความเชื่อและศรัทธาอย่างแรงกล้า
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ตรงกับวัน แรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ของทุกปี จะตรงกับประเพณีของ เทศกาลสารทไทย ตามตำนานที่เล่ามาหลายชั่วอายุคน หรือประมาณ 400 ปีที่ผ่านมาได้ก่อกำเนิดพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธ์นี้ขึ้น โดยมีการเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมมีชาวประมงกลุ่มหนึ่งมีอาชีพจำปลาในแม่น้ำป่าสัก อยู่มาวันหนึ่ง อยู่มาวันหนึ่งมาชาวประมงกลุ่มนี้ได้ออกหาปลาตามปกติเช่นทุกวันก็เกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้น คือตั่งแต่เช้าถึงบ่ายไม่มีใครสามารถจับปลาได้แม้แต่ตัวเดียว จึงนั่งปรับทุกข์ซึ่งกันและกัน แต่ทันทีทันไดนั้นก็ได้เกิดเหตุมหัศจรรย์ขึ้น เรื่องจากกระแสน้ำในบริเวณวังมะขามแฟบที่กำลังไหลเชียวกรากเริ่มหยุดนิ่งอยู่กับที่ จากนั้นก็ค่อย ๆ มีพรายน้ำผุดขึ้นมา ที่ละน้อย ๆ กระทั้งกลายเป็นวังน้ำวนขนาดใหญ่ค่อยๆ ดูเอาองค์พระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยขึ้นมาเหนือน้ำและมีลักษณะอาการดำพุดดำว่ายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ชาวประมงกลุ่มนี้ต้องลงไปอัญเชิญ ขึ้นมาประดิษฐานไว้บนบกเพื่อกราบไหว้สักการบูชาพร้อมร่วมกันถวายนาม ว่า พระพุทธหาธรรมราชา เวลาผ่านไปได้มีชาวประมงได้พบกับพระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์ นี้อีกครั้ง จึงนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ ในปีถักมาพอถึง วันขึ้น 15 ค้ำ เดือน 10 ปรากฏว่าพบพระพุทธมหาธรรมราชาได้หายไปจากวัดไตรภูมิ และพบพระพุทธมหาธรรมราชากลางแม่น้ำป่าสักวังมะขามแฟบ สถานที่ชาวประมงพบพระรูปนี้ครั่งแรกดำพุดดำว่ายจากนั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ     เดือน10   ของทุกปี จึงมีการแห่พระพุทธมหาธรรมราชาไปรอบเมืองจนถึงบริเวณหน้าวัดไตรภูมิ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นผู้อุ้ม พระพุทธมหาธรรมราชาลงดำน้ำ ทั้ง 4 ทิศ ซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ชาวจังหวัด จนเป็นประเพณีอุ้มพระดำน้ำของจังหวัดเพชรบูรณ์  จนถึงทุกวันนี้
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำยังสะท้อนให้เห็นความร่วมมือเป็นหนึ่งใจเดียวกันชาวเพชรบูรณ์ที่ต้องการสืบสารมรดกทางวัฒนธรรม อันนี้ไว้ เพราะไม่สามารถพบเห็นได้ที่ไหนอีกแล้ว เพื่อให้ทรงคุณค่าอย่างนี้ตลอดกาล สิ่งนี้เป็นอักหนึ่งความภาคภูมิใจของฉัน และเป็นสิ่งในความภูมิใจของชาวเพชรบูรณ์และคนไทยทุกคน

นางสาว กฤติญา เพ็งตา คณะพยาบาลศาสตร์ 5305110002




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น