วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พิธีกรรม ” การสูตรขวัญ ” หรือ ” การสู่ขวัญ ”

พิธีกรรม  การสูตรขวัญ    หรือ     การสู่ขวัญ 
                ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสวยงามแหล่งหนึ่งของโลก   ทั้งทางด้านโบราณสถาน   ขนบธรรมเนียมประเพณี   วัฒนธรรม   และยังมีสถานที่ ๆ   น่าเที่ยวชมภายในประเทศไทยอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับโบราณสถาน   เกี่ยวกับธรรมชาติที่สวยงาม   และการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับวิธีชีวิตที่ได้ให้นักท่องเที่ยวได้ไปสัมพัสกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้าน   และในที่นี้ดิฉันขอนำเสนอเกี่ยวกับภูมิปัญญาของชาวจังหวัดของแก่น   ว่าที่จังหวัดขอนแก่นนั้นมีพิธีกรรมหนึ่งที่หน้าสนใจมาก   นั้นคือ     พิธีสูตรขวัญ    หรือ     พิธีสู่ขวัญ     เป็นพิธีกรรมที่ดี   เป็นพิธีที่เป็นเสมือนการสร้างศิริมงคลแด่ผู้ที่ได้ทำพิธีกรรมนี้
                คำว่า     สูตรขวัญ    หรือ     สู่ขวัญ     นั้นหมายถึง   การสร้างขวัญกำลังใจ   เสริมศิริมงคลตลอดจนการขับไล่สิ่งชั่วร้ายไปจากตน   ภายใต้ความเชื่อที่ว่า   ขวัญเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จในชีวิต   อยู่ดีมีความสุขมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับขวัญของคน ๆ  นั้น  ( ขอนแก่นคลังนานาธรรม , 2544 : 309 )
                ความเชื่อเกี่ยวกับ   “ ขวน ”   หรือ     ขวัญ ”   เป็นความเชื่อพื้นถิ่นของคนไทยเผ่าไทย – ลาว   ที่อาศัยอยู่ตามบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง   และสาขาต่าง ๆ  ของแม่น้ำโขง   ทั้งในประเทศลาวและบริเวณภาคอีสานของประเทศไทย   คนภาคอีสานที่สืบสายเลือดมาจากบรรพบุรุษเผ่าไทย – ลาวที่มีความเชื่อว่า   คนเรามีองค์ประกอบอยู่  2  ส่วนใหญ่ ๆ   นั้นคือ   ส่วนที่เป็นรูปธรรมซึ่งได้แก่   “ ฮูปร่าง ”  ( รูปร่าง )   “ ฮ่างคึง ”   ( ร่างกาย )   ปาก   คอ   หู   จมูก   แขน   ขา   ฯลฯ   กลับส่วนที่เป็นนามธรรม   ไม่มีตัวตน   มองไม่เห็นด้วยสายตาแต่เชื่อว่ามี   เรียกว่า   “ ขวัญ ”   คนเราจึงจะมีชีวิตที่ดี   หรือไม่ดีขวัญจึงมีบทบาทสำคัญมาก
                การสู่ขวัญจึงเป็นขวัญกำลังใจแด่คนและเสริมศิริมงคลทั้งทางด้านบ้านเรือน   ล้อเลื่อน   วัว   รถรา   เป็นการรวมศิริแห่งโภคทรัพย์   ( สวิง   บุญเจิม  ,  2549  :  430 )   ซึ่งทำพิธีโดย   “ หมอสูตร ”   หรือ   “ หมอสูตรขวัญ ”   เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมตั้งแต่ตนจนจบ  
( http : www.images.52010512097.multiply.multiplycontent.com/.../173427_4.pdf. )
ในการทำพิธีสูตรขวัญ   ผู้ที่เป็นเจ้าของขวัญจะนั่งใกล้ ๆ   พาขวัญแล้วตั้งจิตอธิฐานขอให้มีแต่สิ่งดี ๆ   เข้ามาในชีวิต   ขอให้มีความสุขและความเจริญแด่ตนเอง   โดยที่ข้อมือข้างหนึ่งมีด้ายสายสิญจน์และมืออีกข้างหนึ่งจับที่พาขวัญ   เมื่อทำพิธีจนถึงช่วงสุดท้ายก็ให้ผู้มาร่วมงานเข้ามาผูกข้อมือแด่เจ้าของขวัญพร้อมกล่าวคำอวยพร
                ดังนั้น   การสูตรขวัญ   เป็นพิธีกรรมที่เป็นการเสริมขวัญกำลังใจ   เสริมศิริมงคลทั้งแก่ตนเองและทรัพย์สินของเจ้าของขวัญนั้นเอง   เพื่อให้ผู้ที่ทำพิธีกรรมนี้พบแต่ความสุขและความเจริญหลังจากที่ได้ทำพิธีกรรมนี้
นางสาวกรวิภา   โทเรธรรม   รหัสนิสิต 5305110001 
คณะพยาบาลศาสตร์  ชั้นปีที่ 2   มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น