วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรคหัวใจขาดเลือด

บทนำ
โรคหัวใจขาดเลือด
ความเป็นจริงแล้วคำว่า โรคหัวใจ มีความหมายกว้างมาก อาการที่เกิดจากโรคหัวใจ หรือสัมพันธ์กับหัวใจนั้น มีไม่มากนัก แต่อย่างไรก็ตาม อาการ ก็มิได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหัวใจเท่านั้น ยังมีโรคอื่นๆ ที่ให้อาการคล้ายกัน ดังนั้น การที่แพทย์จะพิจารณาให้การวินิจฉัยนั้น จำเป็นต้องอาศัยประวัติอาการโดยละเอียด ร่วมกับการตรวจร่างกาย บางครั้งต้องอาศัยการตรวจพิเศษต่างๆ เช่น เลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ เป็นต้น เพื่อแยกโรคต่างๆ ที่มีอาการคล้ายกัน(นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา : อายุรแพทย์โรคหัวใจ)
ปัจจุบันโรคหัวใจเป็นกลุ่มโรคที่สำคัญ ในประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนาโดยพบว่ามีการตายที่สูงมาก   โดยอัตราการตายจากโรคหัวใจขาดเลือด  จากข้อมูลของกองสถิติสาธารณสุข จำนวนผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคหัวใจ ในปี พ.ศ. 2552  ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะเท่ากับ 220.9 และ 194.4 ต่อประชากรแสนคน  ส่วน  ญี่ปุ่น 43.0 และ 36.9 ต่อประชากรแสนคน  และใน ประเทศจีน 36.4  และ 31.7  ต่อประชากรแสนคน  ในขณะที่ประเทศไทยมีอัตราการตายจากโรคนี้ 2.72 และ 1.3 ต่อประชากรแสนคน  คิดเป็นสัดส่วนการตายระหว่างเพศชาย : หญิง  ได้ประมาณ 2.1:1   การที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ค่อนข้างต่ำใน ประเทศไทย  อาจเนื่องมาจากการไม่ได้คำวินิจฉัยโรค  หรือจากการที่คนไทยมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้ต่ำกว่าประเทศอื่น: (สุพิศ   ลัพธวรรณ์ )
โรคหัวใจขาดเลือด เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประชากรโลก  ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้การทำงานเพื่อสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมลง  การรักษาโดยการผ่าตัดมีส่วนสำคัญที่จะแก้ความผิดปกติที่มีอยู่หรือช่วยบรรเทาอาการ ที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น ดังนั้นการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดนี้จะต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นพิเศษทั้งก่อนและหลังการรักษาและจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้โดยตรง จึงจะเป็นผลดีและปลอดภัยแก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรคนี้ด้วย 
ผู้ป่วยส่วนมากต้องถูกจำกัดการออกแรงและการกระทำกิจกรรมต่างๆ  ผู้ป่วยต้องทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย  และการใช้ชีวิตไม่เหมือน เช่นบุคคลทั่วไปจึงทำให้เป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม  แต่จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและพัฒนาการของการผ่าตัดหัวใจในปัจจุบัน การผ่าตัดหัวใจเป็นวิธีการรักษาที่เข้ามามีส่วนช่วยแก้ไขข้อจำกัดของผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถดำเนินชีวิตได้ดีขึ้นกว่าในอดีต  การรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพประสิทธิภาพ ลดอัตราการตายหรืออันตรายต่างๆ  จากการผ่าตัดได้ก็ด้วยความร่วมมือของบุคลากร ในทีมทุกคน เนื้อหาในรายงานเล่มนี้ได้กล่าวถึง โรคหัวใจขาดเลือด  สาเหตุการเกิดโรค ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด   การรักษา  การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัด  การวินิจฉัย และ การป้องกันและควบคุมโรคหัวใจขาดเลือด : ( อรสา  ภูพุฒ)

  โรคหัวใจขาดเลือด คือ ? 
โรคหัวใจขาดเลือด หมายถึงความพิการของหัวใจชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงหรือชะงักเพราะเกิดโรคขึ้นในหลอดเลือดโคโรนารี  โรคหัวใจขาดเลือดอาจมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้ โรคหลอดเลือดโคโรนารีมีชื่อนิยมเรียกกันหลายชื่อ เช่น Ischemic heart disease (IHD)  Coronary heart disease (CHD) ฯลฯ   กล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซิเจนสูงเพื่อการเผาผลาญ หลอดเลือดโคโรนารีทั้งขวาและซ้ายแยกแขนงออกจากเลือดใหญ่เอออร์ตาเหนือลิ้นเอออร์ติก (Aortic valve)และนำออกซิเจน อาหารไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจหลอดเลือดโคโรนารีเล็กใหญ่   (สมจิต หนุเจริญกุล , 2552)
   ในทางคลินิก โรคหลอดเลือดหัวใจประกอบด้วยกลุ่มโรคหรือ อาการหลายอย่างซึ่งจำแนกด้วยประวัติ การตรวจร่างกายและผลทางห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วยอาการเจ็บหน้าอก (Angina Pectoris)กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction) และการเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด (Coronary Death) ในทางวิทยาการระบาดมักจะรวมถึงการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันที่ไม่ทราบสาเหตุในผู้ใหญ่(Sudden  Death) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเสียชีวิตจากหัวใจขาดเลือดในผู้ใหญ่ (http://www.ram-hosp.co.th เวลา 22.27;     วันที่ 25/08/54)

-                   อาการของโรคในหลอดเลือดแดงโคโรนารี
               อาการแสดงทางคลินิกของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการมี Cardiac output ลดลง มีโลหิตไปเลี้ยงที่กล้ามเนื้อหัวใจหรือสมองไม่เพียงพอ หรือเกิดจากการที่มีความรู้สึกว่ามีความผิดปกติในจังหวะการเต้นหัวใจ อาการแสดงทางคลินิกสามารถแบ่งกลุ่มอาการที่พบได้ดังนี้
1.             อาการแสดงของการมีภาวะหัวใจล้มเหลวจากการมี Coronary Output ลดลง เช่น ซีด (Pallor) กระวนกระวาย (irritability)ปลายมือปลายเท้าเย็น เหนื่อยหอบหรือดูดนมได้น้อยลง (Poor feeding) หรือ shock
2.             อาการแสดงที่เกิดจากการมีปริมาณโลหิตไปเลี้ยงสมองลดลง
3.             อาการแสดงที่เกิดจากการมีโลหิตไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง
4.             อาการที่รู้สึกว่ามีหัวใจเต้นผิดจังหวะ
อาการแสดงทางคลินิกและความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติในจังหวะการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยแต่ล่ะรายมีความแตกต่างกัน ทั้งที่มีความผิดปกติในจังหวะการเต้นของหัวใจชนิดเดียวกันหรือมีอัตราการเต้นหัวใจที่เท่ากัน (ไพโรจน์ โชติวิทยาธารากร ,2547)
-                   ลักษณะอาการ
เจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด เป็นอาการเจ็บปวดเหมือนถูกกดดัน ผู้ป่วยมักจะบรรยายว่า มีอาการแน่นหน้าอก เหมือนถูกกด ถูกบีบ หรือรู้สึกแน่น กลางหน้าอก อาการเหล่านี้ อาจร้าวไปยังหัวไหล่ แขน คอ ขากรรไกร หรือหลังก็เป็นได้ บางคนอาจมีความรู้สึกเหมือนมีเชือดรัด หรือมัดรอบหน้าอก อาจมีอาการเหงื่อออกอย่างมาก  ตัวเย็นวิงเวียน คลื่นไส้ และอ่อนแรง ระยะเวลาของการเจ็บหน้าอก และความรุนแรงของอาการเจ็บ ขึ้นอยู่กับสภาพหลอดหัวใจว่าตีบน้อย ตีบมาก หรืออุดตันโดยสิ้นเชิง และความต้องการออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ ถ้าออกกำลัง หัวใจต้องทำงานหนัก ต้องการออกซิเจนมากขึ้น อาการเจ็บหน้าอกก็จะเป็นมาก และนานกว่า ในขณะพักการทำงานของหัวใจลดลง ความต้องการออกซิเจนก็จะลดลง อาการเจ็บหน้าอกจะลดลง (http://www.ram-hosp.co.th เวลา 22.27;     วันที่ 25/08/54)

-                   การแบ่งชนิดของโรคหัวใจขาดเลือด
1.             มีภาวะเจ็บหน้าอกในขณะออกกำลังกาย หยุดพักก็จะหายเจ็บได้
2.             มีภาวะเจ็บหน้าอกในขณะที่ออกกำลัง พักผ่อนอยู่เฉยๆ
3.             มีภาวะเจ็บหน้าอกร่วมกับมีคลื่นหัวใจไฟฟ้าเปลี่ยนแปลง คือ มี ST ยกขึ้นในขณะพักหรือกำลังออกแรง
4.             มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างรุนแรงอยู่ระหว่าง Stable angina กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดเฉียบพลัน ซึ่งไม่สามารถระงับได้ด้วยยาขยายหลอดเลือดไนไตร กลีเซอรีน และยาอื่นๆ
5.             มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลัน มีอาการเจ็บหน้าอกนานกว่า 30 นาที

สาเหตุการเกิดของโรคหัวใจขาดเลือด
สาเหตุจากหัวใจพิการแต่กำเนิด
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเกิดเนื่องจากการพัฒนาการหัวใจระยะembryoผิดปกติแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ที่สำคัญ ได้แก่ 1.) กลุ่มที่มีความผิดปกติของการเชื่อมต่อ 2.) กลุ่มที่มีภาวะอุดกั้น (obstruction lesion) ซึ่งจะทำให้เกิดการทำงานของอวัยวะส่วนนั้นทำงานมากขึ้นจนอาจเกิดการล้มเหลวได้และ 3.) กลุ่มที่มีการเคลื่อนตำแหน่งของ Chambers หลอดเลือด หรือลิ้นหัวใจซึ่งอาจพบร่วมกับความผิดปกติชนิดอื่นด้วย
        -  สาเหตุจากภาวะหัวใจขาดเลือด
                ภาวะหัวใจขาดเลือดเป็นภาวะที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไม่เพียงพอต่อความต้องการมีกลไกการเกิดได้ 2 อย่าง คือ เลือดส่งไปเลี้ยงไม่พอจากการตีบตันและกล้ามเนื้อหัวใจต้องการเลือดเพิ่มมากขึ้น
        -  สาเหตุอื่นๆ
                ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น Cardiomyopathy (dilated, restrictive, hypertrophic cardiomyopathy)  เนื้องอกของกล้ามเนื้อหัวใจ (rhabdomyoma), โรคทางกรรมพันธุ์ เช่น pompe’s  disease ความผิดปกติใน Metabolism เช่น โรคต่อมไร้ท่อ (hyperthyroidism), neuromuscular disease, collagen disease การได้รับยาบางชนิดเช่น ยาในกลุ่ม cardiac glycoside, ยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ (sympathominetic drugs) หรือยาควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (antiarrhythmic drugs) หรือมีความผิดปกติของ  electrolyte เช่น hyperkalemia, hypokalemia มีการเพิ่มความดันในสมอง หรือภาวะ hypoxia  เป็นต้น (ไพโรจน์ โชติวิทยาธารากร ,2547)

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
ปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
                -  กรรมพันธุ์      กรรมพันธุ์เป็นปัจจัยเหนี่ยวนำที่สำคัญในการเกิดโรคในหลอดเลือด ผู้ชายอายุ 40-59 ปีที่มีประวัติว่าบิดามารดาเป็นโรคนี้จะมีโอกาสตายจากโรคเดียวกันนี้ได้สูงกว่าบุคคลที่ไม่มีประวัติในญาติสายตรง
- อายุ    อาการของโรคหลอดเลือดมักจะพบได้ในบุคคลที่มาอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปเป็นส่วนมาก อย่างไรก็ตามในคนที่อายุต่ำกว่า 40 ปี อาจมีอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ได้ ซึ่งในประเทศไทยพบอุบัติการณ์ จากผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายทั้งหมดและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือสูบบุหรี่
- เพศ   พบว่าผู้ชายมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดได้สูงกว่าผู้หญิงถึง 4 เท่า อย่างไรก็ตามความแตกต่างในโอกาสเสี่ยงระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น เช่น ผู้ชายอายุ 40 ปี มีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าผู้หญิงในวัยเดียวกัน แต่เมื่ออายุมากขึ้นเป็น 70 ปี โอกาสเกิดโรคของผู้หญิงกับผู้ชายเท่าๆกัน นอกจากนั้นยังมีรายงานว่าผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดและหมดประจำเดือนเร็วจะมีโอกาสเกิดโรคได้สูงกว่า
       -  ปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคลที่สามารถควบคุมได้
-สิ่งแวดล้อม     ความชุกของโรคหลอดเลือด พบในประเทศแถบทวีปอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย ยุโรป และนิวซีแลนด์  มากกว่าประเทศ ญี่ปุ่น สวินเซอร์แลนด์ และอิตาลี นอกจากอายุอัตราการตายทุกชนชาติ เท่าๆ กัน
-การสูบบุหรี่     ผู้ชายที่สูบบุหรี่มีโอกาสตายจากโรคหลอดเลือดสูงกว่าผู้ชายที่ไม่สูบ และผู้ที่สูบบุหรี่ทั้งหมดโอกาสเกิด heart attack  สูงว่าผู้ที่ไม่สูบ 2เท่า นอกจากนั้นยังพบว่าผู้สูบบุหรี่มีอัตราเสี่ยงต่อการตายอย่างกะทันหันมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ 2-4 เท่า
-ความดันโลหิตสูง    หลอดเลือดของผู้ที่มีความดันโลหิตจะเกิดพยาธิสภาพทำให้เกิด atherosclerosis  ได้มากกว่าผู้ที่ความดันปกติจึงมีโอกาสเกิดโรคในหลอดเลือดได้มากขึ้นแม้ว่าความดันโลหิตสูงไม่สามารถป้องกันได้แต่สามารถควบคุมได้โดยการรักษาและดูแลตนเองให้เหมาะสม
-โรคเบาหวาน    การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดงในผู้ป่วยเบาหวานมีผลให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้สูงกว่าบุคคลที่มีน้ำตาลปกติ
ปัจจัยอื่นๆ
                ได้แก่  ความอ้วน การขาดการออกกำลังกาย และภาวะเครียด เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคในหลอดเลือดแดง ให้สูงขึ้น ความอ้วนจะเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจเพื่อสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ มากขึ้น  ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกายกับโรคหลอดเลือดนั้นแม้ว่างานวิจัยยังไม่ได้พิสูจน์แน่ชัด  แต่การออกกำลังกายลดภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคนี้โดยการลดน้ำหนัก ลดความเครียด และเพิ่ม HDL ในเลือด ความเครียดมีส่วนสัมพันธ์กับการเพิ่มความดันโลหิต แม้ว่าความเครียดในระดับพอเหมาะจะมีบทบาทสำคัญในชีวิตของคนยุดใหม่ในประเทศอุตสาหกรรม (สมจิต หนุเจริญกุล :2552)

การรักษา /  การพยาบาลผู้ป่วย
       -  การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
                การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ โดยใช้ลิ้นหัวใจเทียม ซึ่งลิ้นหัวใจเทียม แบ่งออกเป็น 2ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1.             ลิ้นหัวใจชนิดที่ทำขึ้นจากเนื้อเยื่อ (bioprostheses)  เนื้อเยื่อที่ใช้อาจได้จากผู้ที่เสียชีวิตแล้ว หรือจากเนื้อเยื่อของสัตว์  ได้แก่ เยื่อบุรอบหัวใจหมูหรือวัว นำมาประกอบกับขอบยึด ที่นิยมใช้ คือ Carpenteir-Edwards valve การใช้ลิ้นหัวใจชนิดนี้มีข้อดี คือ  มีอัตราเสี่ยงของการเกิด  Thromboemboli ต่ำ และไม่ต้องใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยที่ใช้ลิ้นหัวใจชนิดนี้จะต้องเปลี่ยนภายใน 10 ปี การเปลี่ยนลิ้นหัวใจจากผู้เสียชีวิตแล้ว จะได้ประโยชน์สูงสุดถ้าใช้ภายใน12 ชั่วโมงหลังเสียชีวิตประโยชน์ของการใช้ลิ้นหัวใจนี้พบว่าแทบไม่มีปัญหาของ hemodynamic และไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านความแข็งตัวของเลือด ข้อเสีย คือ หายาก ขาดเทคนิคในการเก็บรักษาและจำกัดว่าใช้ได้กับ aortic valve  เท่านั้น
2.             ลิ้นหัวใจชนิดที่ทำขึ้นจากสารสังเคราะห์   ที่นิยมใช้ มี 3แบบ คือ แบบที่ 1  เป็น Bileafler valve มีลักษณะเป็นแผ่นลิ้นหรือจานเปิด ปิด ที่นิยมใช้มาก  แบบที่ 2 เป็น  Medtronic – hall prosthetic valve มีแผ่นลิ้นเดียวปิด เปิด  แบบที่ 3 มีลักษณะเป็นลูกบอล ที่นิยมใช้คือ  Starr – Edwards   หัวใจเทียม เหล่านี้ มีผลเสียในการใช้ คือ อาจมีลิ่มเลือดหลุดลอยไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกายดังนั้น ผู้ป่วยจึงต้องกินยาต้านการแข็งตัวของเลือดตลอดชีวิต
       -  การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
                 Coronary artery bypass grafting เป็นการผ่าตัดที่นิยมมากที่สุดเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ โดยทำ bypass จาก aorta ผ่านบริเวณที่อุดตันไปยัง Coronary artery บริเวณที่ distal ต่อการอุดตันนั้นๆ
       -  การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ
การดูแลระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้ทำงานตามปกติและป้องกัน Complication ที่สำคัญคือ
1.             Cardiovascular system โดยเฉพาะการรักษาหรือป้องกันภาวะ low cardiac output
2.             Respiratory system เพื่อเอาเครื่องช่วยหายใจออกได้เร็วโดยให้หายใจเองได้และมี Oxygenation ที่ดี
3.             Renal system เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ renal insufficiency โดยให้มี urine output ที่ดีและค่า BUN ไม่เพิ่มและรีบรักษา
4.             Neurologic complication ต้องรีบตรวจพบและรักษาเพื่อไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปจนผู้ป่วยไม่ฟื้นหรือพิการ
5.             Bleeding complication  ซึ่งควรป้องกันโดยการผ่าตัด control bleeding ให้ดีหรือหลังผ่าตัดมี coagulation ผิดปกติ
     -  การพยาบาลผู้ป่วยระยะก่อนผ่าตัดหัวใจ
                การผ่าตัดหัวใจเป็นการผ่าตัดที่กระทำต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย พยาบาลจึงควรศึกษารายละเอียดของโรคเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการเตรียมตัวและคำแนะนำที่ถูกต้องสมบรูณ์ที่สุดดังนั้นกิจกรรมการพยาบาลก่อนผ่าตัด มีดังนี้ 
1.             การพยาบาลเพื่อลดความวิตกกังวล/ ความกลัว
-สร้างสัมพันธภาพพร้อมแนะนำสิ่งแวดล้อม กฎระเบียบในหอผู้ป่วย
-ประเมินความรู้และความพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ
-ให้ความรู้และคำแนะนำผู้ป่วยในหัวข้อต่างๆ
-จัดให้มีการพบและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ป่วยที่รอผ่าตัดและผู้ที่ได้รับการผ่าตัดและได้ผลดี
-การสาธิตและการฝึกหายใจ อธิบายให้เห็นความสำคัญของการไอ การหายใจ เพื่อให้ปอดขยายตัวเร็วขึ้น ลดการคั่งของเสมหะ
2.             การพยาบาลด้านร่างกาย เพื่อเตรียมและส่งต่อผู้ป่วยไปผ่าตัด
-ตรวจสอบความพร้อมของเอกสารที่สำคัญสำหรับการผ่าตัด
-ติดตามผลการตรวจ
-ประเมินภาวะที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด
-เตรียมร่างกายก่อนผ่าตัด
การพยาบาลผู้ป่วยระยะหลังผ่าตัดหัวใจ
                การพยาบาลผู้ป่วยระยะหลังผ่าตัดหัวใจ แบ่งกิจกรรมออกเป็น2 กิจกรรม ดังนี้
1.             กิจกรรมการพยาบาลขณะอยู่ ICU
-การเตรียมรับผู้ป่วยจากห้องผ่าตัด
-การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
2.             กิจกรรมการพยาบาลระยะพักฟื้นในหอผู้ป่วย
-เตรียมเตียง  อุปกรณ์ต่างๆ  ออกซิเจน
-ประเมินสภาพและบันทึก
-ดูแลการหายใจการได้รักออกซิเจน
-ดูแลให้ได้รับสารอาหารและการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
-ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
-ติดตามผลการตรวจเลือด
-แนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมอาการปวดด้วยตนเองโดยใช้เทคนิคผ่อนคลาย   (อรสา ภูพุฒ )
การวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด
            การวินิจฉัยโดยการซักประวัติ
                ประวัติของผู้ป่วยมีความสำคัญในการวินิจฉัยและการรักษา ทำให้ทราบว่าอาการทางคลินิกที่เกิดขึ้นนั้นมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในการเต้นของหัวใจหรือไม่  การเต้นของหัวใจมีความผิดปกติมีสาเหตุเนื่องมาจากความผิดปกติที่หัวใจหรือเป็นผลเนื่องจากการมีความผิดปกติอื่น และมีความจำเป็นในการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมหรือต้องให้การรักษาหรือไม่อย่างไร  นอกจากนี้ยังทำให้ทราบถึงอายุที่เริ่มเกิดอาการ ระยะเวลาของการเกิดอาการ ความถี่และความสัมพันธ์ของการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติกับกิจกรรม รวมทั้งทำให้ทราบถึงประวัติของการมีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติในครอบครัวและโรคหัวใจพื้นฐานของผู้ป่วย
    การวินิจฉัยโดยการตรวจร่างกาย
                การตรวจร่างกายทำให้ทราบว่าภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่เกิดขึ้น มีความสำคัญเพียงใด ช่วยในการวินิจฉัยชนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ วางแผนการวินิจฉัยและการดูแลรักษา การตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มีปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องตรวจทุกระบบ ทั้งการตรวจร่างกายทั่วๆไปและการตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือด ควรสังเกตผู้ป่วยว่ามีลักษณะเข้ากับกลุ่มอาการ (syndrome) ใดหรือไม่ ผู้ป่วยมีอาการแสดงของการมี cardiac output ลดลงหรือมีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่ มีอาการเขียวหรือมีความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดที่บ่งชี้ว่ามีหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือมีความผิดปกติที่หัวใจหรือไม่
                การวินิจฉัยโดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่อง
                การตรวจวิธีนี้เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 24 48 ชั่วโมง มีประโยชน์ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการทางคลินิกที่บ่งชี้ว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ  แต่จากการตรวจด้วยเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติไม่พบว่ามีความผิดปกติใดๆ การตรวจวิธีนี้ทำให้ทราบว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติในการเต้นของหัวใจจริงหรือไม่  เกิดขึ้นบ่อยเพียงใดและมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมใดของผู้ป่วย ทำให้ทราบว่าอาการแสดงทางคลินิกที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่เปิดขึ้นหรือไม่นอกจากนี้ยังช่วยในการประเมินความรุนแรงและตัดสินใจให้การรักษา เช่นในผู้ป่วย sinus node dysfunction  การตรวจ Holter monitoring   ทำให้ทราบว่าผู้ป่วยมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ช้าที่สุด และเร็วที่สุดในแต่ละวันเป็นอย่างไร และมีประโยชน์ในการตรวจหาความผิดปกติในการเต้นของหัวใจ เฉพาะในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจที่เกิดขึ้นอย่างน้อยวันล่ะ 1 ครั้ง ปัจจุบันเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดนี้สามารถบันทึกได้พร้อมกันทั้ง 12-ledd ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยชนิดของหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ถูกต้องยิ่งขึ้น            (ไพโรจน์  โชติวิทยธารากร )
การป้องกันและควบคุมโรคหัวใจ
กลุ่มโรคหัวใจนี้ในระยะการเผชิญต่อความเสี่ยงกระบวนการเกิดพยาธิสภาพอาการของโรคและการดำเนินโรคมีความต่อเนื่องตั้งแต่เกิดจนตาย และปัจจัยเสี่ยงบางตัวเมื่อแฝงตัวอยู่ระดับหนึ่งก็เป็นโรคที่พบบ่อยและจะต้องดำเนินการรักษา แต่มักขาดการระวังตัวเอง เช่น ความดันเลือดสูง  เบาหวาน เป็นต้น แต่ปัจจัยเสี่ยงบางตัวในแง่มุมของโรคจะแสดงอาการเฉพาะของปัจจัยนั้นน้อยมาก มักร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในการทำให้เกิดโรค เช่นระดับโคเลสเตอรอลที่สูงโดยปกติจะไม่แสดงอาการไขมันสูง แต่เมื่อร่วมกับปัจจัยของความดันเลือดสูงและการสูบบุหรี่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมองเป็นต้น
ดังนั้นโครงการกิจกรรมที่จะป้องกันและควบคุมขณะเกิดโรคและจะต้องมีความต่อเนื่องและลักษณะกิจกรรมอย่างจะซ้อนกับโครงการกิจกรรมในการป้องกันล่วงหน้าโครงการที่ควรจัดเสริมขึ้นอีก ได้แก่
1.             การคัดกรองโรคและการรักษาอย่างทันท่วงที
การคัดกรองโรคที่เกี่ยวข้องได้แก่ โรคเบาหวาน และโรคความดันเลือดสูงในประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป ขณะเดียวกันในรายที่มีอาการสงสัยเบื้องต้นในอายุต่ำกว่า 40 ปี ควรปรึกษาแพทย์ซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรมการดูแลและเฝ้าระวังตนเอง
2.             การจัดให้มีระบบดูแลสุขภาพที่ครบถ้วน
ผู้ที่มีอาการสงสัยว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและโรคที่เกี่ยวข้องกับการคัดกรองโรคแล้ว ต้องได้รับการวินิจฉัยโรคชัดเจนหลังจากคัดกรองโรคแล้ว และได้รับการรักษาที่ครบ ซึ่งต้องรักษาระบบการดูแลสุขภาพในชุมชนที่มีคุณภาพได้แก่ ระบบส่งต่อและระบบคุณภาพการบริการที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยได้แก่ ระบบพัฒนาคุณภาพบริการสาธารณสุข (พบส.)  และมีระบบเสริมคือ ระบบประชาธิปไตยสังคม ระบบสุขศึกษา เป็นต้น เพื่อให้เข้าถึงการบริการและดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรคยิ่งขึ้น

3.             การจัดให้มีระบบการดูแลสุขภาพที่เสริมความสม่ำเสมอในการดูแลผู้ป่วย
ในโรคนี้เมื่อเกิดโรคแล้วยากต่อการรักษาให้หายขาด แต่สามารถชะลอการเกิดอาการรุนแรงของโรคซ้ำ ลดหรือชะลอภาวะหรือโรคแทรกซ้อน  ความพิการ ความตาย โดยที่ผู้ป่วยจะต้องรักษาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง



สรุป
โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดอาการตีบทำให้เลือด ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจนชั่วขณะ เกิดอาการเจ็บหน้าอก อาการจะทุเลาเมื่อพัก และถ้าเส้นเลือดที่ตีบเกิดอุดตันอย่างเฉียบพลัน จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันทำให้เกิด อาการเจ็บหน้าอก อย่างรุนแรง อาจมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตแบบปัจจุบันทันด่วน ก่อนที่จะไปถึงโรงพยาบาลได้ เกิดจากสาเหตุของหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ แข็งตัว มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง เช่น อายุ เพศ การสูบบุหรี่ ภาวะไขมันสูง ความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน ฯลฯ ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใดก็ตาม โรคนี้เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาดแต่การรักษาต่อเนื่องต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นเลือดตีบมากขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมาซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นเพื่อยืนยันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คือ การฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในเส้นเลือดหัวใจ โดยการใช้สายสวนหัวใจเข้าทางหลอดเลือดแดง เข้าสู่เส้นเลือดหัวใจ และมีการบันทึกภาพขณะฉีดสารทึบรังสี และมีโครงการกิจกรรมที่จะช่วยป้องกันและควบคุมขณะเกิดโรคหัวใจขาดเลือดแล้วจะต้องมีความต่อเนื่องและลักษณะกิจกรรมบางอย่างจะซ้อนกับโครงการกิจกรรมในการป้องกันล่วงหน้าโครงการที่ควรจะจัดเสริมขึ้นมาอีก เช่น การคัดกรองโรค และการรักษาอย่างทันท่วงที การจัดให้มีระบบดูแลสุขภาพที่ครบถ้วน การจัดให้มีระบบการดูแลสุขภาพที่เสริมความสม่ำเสมอในการดูแลผู้ป่วยเป็นต้น
  
อ้างอิง
(สมจิต หนุเจริญกุล ,  2552    หนังสือ การพยาบาลทางอายุรศาสตร์เล่ม 2 )
(http://www.ram-hosp.co.th เวลา 22.27;     วันที่ 25/08/54)

(ไพโรจน์ โชติวิทยาธารากร ,2547  หนังสือ กลไรการเกิด การวินิจฉัยและการรักษา   หัวใจเต้นผิดจังหวะ )
(อรสา ภูพุฒ  หนังสือ การปฎิบัติการพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤต  พ.ศ.2551)



นางสาววิไลรัตน์  ขาวดา รหัสนิสิต 5305110026 คณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตกาญจนบุรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น